วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สบู่

สบู่

สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น
สบู่ก้อน คือส่วนผสมระหว่างกรด (ไขมัน) กับเบส (ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 (ในเอกสารจดแจ้งของ อย.ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อนระบุว่ามีค่า ph ไม่เกิน 11) กรดหรือกรดไขมัน เช่นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เบส เช่นโซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือเมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมันอยู่ประมาณ 5% หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่า pH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย 15-30 วัน เพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
กรด (ไขมัน) และเบส (ด่าง) ที่นำมาทำสบู่ ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า 1 ชนิด ตามธรรมชาติกรดไขมันเหล่านี้จะไม่อยู่อิสระ แต่รวมตัวกับสารกลีเซอรอลในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะหลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ปฏิกิริยาของ กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น
คุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากกรดไขมันต่างชนิดกัน
1.             น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ผลิตได้มีเนื้อแข็ง กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมากเป็นครีม ให้ฟองที่คงทนพอควร เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวแห้ง
2.             น้ำมันปาล์ม ให้สบู่ที่แข็งเล็กน้อย มีฟองน้อย ฟองคงทนอยู่นาน มีคุณสมบัติในการชะล้างได้ดี แต่ทำให้ผิวแห้ง
3.             น้ำมันรำข้าว ให้วิตามินอีมาก ทำให้สบู่มีความชุ่มชื้น บำรุงผิว ช่วยลดความแห้งของผิว
4.             น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่เข้าได้ดีกับน้ำมันอื่น ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นหืนง่าย
5.             น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่ให้วิตามินอี และให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว
6.             น้ำมันมะกอก ทำให้ได้สบู่ที่แข็งพอสมควร ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
7.             น้ำมันละหุ่ง ช่วยทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สบู่เป็นเนื้อเดียวกันดี สบู่ไม่แตก ทำให้สบู่มีความนุ่มเนียน และช่วยให้ผิวนุ่ม
8.             น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้น แต่ฟองน้อย
9.             ไขมันวัว จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็งสีขาวอายุการใช้งานนานมีฟองน้อย ทนนาน แต่นุ่มนวล
10.      ไขมันหมู จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
11.      ขี้ผึ้ง ได้สบู่เนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
12.      ไขมันแพะ ได้สบู่เนื้อนุ่ม ได้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ผิวนุ่มเนียน
เบส (ด่าง) ที่ใช้มี 3 ชนิด คือ
1.             ขี้เถ้า ใช้ในการผลิตสบู่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้เป็นด่างแทน
2.             โซดาไฟ หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่ก้อนแข้ง
3.             โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่เหลว

ดอกอัญชัน
อัญชัน (อังกฤษ: Asian pigeonwings; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน (เหนือ)[1] เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2]ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็
การกระจายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา
สรรพคุณ
-ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
-เมล็ด เป็นยาระบาย
-ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “ สมุนไพรล้างพิษสารเคมี ”
คณะผู้จัดทำโครงงานได้ร่วมกันศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3. คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
4. รางจืด
5. สเลดพังพอนตัวเมีย
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจำหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิด
ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกำจัด คือ สารเคมีกำจัดแมลง
สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกำจัดหอยและปู เป็นต้น
1. สารเคมีกำจัดแมลง สารเคมีกำจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจานวนชนิดมากที่สุด คือ
สารเคมีกำจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ
1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ
สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อกซาฟีน
(toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮปตาครอ (heptachlor) เป็นต้น
สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุกชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า
ทำให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิดอาจตกค้างได้นานหลายสิบปี
ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้
ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ
โดยสารเคมีในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (malathion), พาร June, 2009#3604;อาซินอน (diazinon),
เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ
DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด
แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก
1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสาคัญ
โดยสารเคมีกำจัดแมลงที่รู้จักและใช้กันมาก คือ คาร์บาริว (carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin),
คาร์โบฟุแรน (carbofura), โพรพ็อกเซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb)
สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต
1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย
เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน
ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษต่อแมลงสูง
แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่า อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้
สารเคมีกาจัดแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน
(resmethrin), และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น
2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
พวกที่มีพิษทำลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษเฉพาะกลุ่มวัชพืช คือ ทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ
สารกำจัดวัชพืชที่มีพิษทำลายไม่เลือก คือ พาราควอท (paraquat) ส่วนที่มีพิษทำลายเฉพาะ คือ พวก แอทราซิน
(atrazine), 2,4-D, 2,4,5-T เป็นต้น
3. สารกำจัดเชื้อรา มีอยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก
กลุ่มสำคัญของสารกำจัดเชื้อราในการเกษตร (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546) ได้แก่
กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย
กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก
Metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์
กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท
กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง
ข้อกระดูกอักเสบ
กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทาให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว
4. สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) สารกำจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน
ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่าง เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค
ทำให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่า ลมพิษ ผมร่วง
อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาฆ่าแมลง"
นั้น ส่วนใหญ่จะแสดงอาการเป็นพิษต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต
อาการที่เกิดอาจเป็นชนิดรุนแรงหรือชนิดเรื้อรังก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ก. ชนิดและปริมาณของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ข. ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางปาก (อาหาร) ผิวหนังหรือทางการหายใจ
ค. ปริมาณสารตกค้างที่สะสมอยู่ในร่างกาย
ง. ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนใด
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง
จึงเชื่อกันว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้เช่นกัน อันตรายเหล่านี้จะเกิดช้าๆ
และไม่ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อประโยชน์ในงานประเภทใดก็ตาม
ควรคำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
โดยเปรียบเทียบประโยชน์และอันตรายที่จะได้รับภายหลัง การใช้ให้ดีเสียก่อน
เพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดสลายตัวได้หมดภายหลังการใช้
แต่บางชนิดจะสลายตัวได้ยากหรือเกือบจะไม่สลายเลย คงเหลือสารตกค้างอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม
เท่าที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ผลิตขึ้นจากสารเคมีและสลายตัวได้ยาก
จึงจำเป็นต้องศึกษาพิษอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ดีและรู้จักหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านั้น
โดยปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีใช้ที่มีฉลากโดยเคร่งครัด การควบคุมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างรัดกุม
จะช่วยให้ได้รับประโยชน์เต็มที่และเกือบจะไม่มีอันตรายเหลืออยู่เลย เท่าที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่
สารเคมีกำจัดแมลง (Insecticides) กำจัดเชื้อรา (Fungicides) กำจัดวัชพืช (Herbicides) และกำจัดหนู
(Rodenticides)
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักดีถึงอันตรายที่ประชาชนอาจได้รับจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
จึงทาการศึกษาวิจัยหาสารตกค้างดังกล่าวในอาหารเป็นประจำ
เพื่อการเฝ้าระวังและติดตามชนิดและปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างในอาหาร ตัวอย่างอาหารที่นำมาวิเคราะห์
มีทั้งชนิดดิบและสุกทุกประเภท เช่น ผัก ผลไม้ กุ้งแห้ง ข้าว ไข่ เนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำมันปรุงอาหาร ฯลฯ
โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดขายส่งขายปลีกและแหล่งเพาะปลูกหรือจากหน่วย
ราชการและเอกชนส่งให้วิเคราะห์เพราะสงสัยว่าสาเหตุให้เกิดอาการเป็นพิษ
และผู้ส่งออกที่ต้องการหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าอาหารที่จะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยเท่าที่ผ่านมาแล้ว
ปรากฏว่าปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอาหารโดยเฉลี่ยแล้ว
ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค
1. ล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เพื่อชะล้างสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่บนผิวของ
ผักและผลไม้ให้หมดไป หรือ
2. แช่ผักและผลไม้ในน้ำยาล้างผัก แล้วล้างน้ำยาให้หมดด้วยน้าสะอาดหลายๆ ครั้ง
3. ผักและผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ ควรล้างด้วยน้าให้สะอาดก่อนปอกเปลือก
4. การต้มผักแล้ว เทน้ำทิ้งไปจะช่วยลดปริมาณยาฆ่าแมลงในผักลงได้บ้าง
5. ถั่วแห้งทุกชนิด ก่อนนามาใช้ปรุงอาหารควรล้างด้วยน้ำให้สะอาด ถ้าเป็นอาหารที่ต้องต้ม
ควรทิ้งน้ำต้มครั้งแรก เพื่อให้ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่บนผิวนอกของ เมล็ดถั่วหลุดไปได้มากที่สุด
6. ก่อนฉีกหรือพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ควรถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังนี้
ใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
7. ห้ามนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มาใช้บรรจุอาหาร เครื่องดื่มหรือน้ำเป็นอันขาด
ชื่อสมุนไพร รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่ออื่น หนาแหน้
สรรพคุณ สรรพคุณรางจืดตามตำรายาไทย กล่าวไว้ว่า รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้
ถอนพิษผิดสาแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ด้วย ใช้แก้พิษเบื่อเมา เนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อประเภทยาสั่ง
รางจืดช่วยถอนพิษสุรา หากดื่มสุราจัดเกินขนาด แล้วเกิดอาการเมาค้าง
รางจืดถอนได้หรือหากเคี้ยวหรืออมเถารางจืดไว้ใต้ลิ้น เมื่อดื่มเหล้ามากแต่เมาน้อย
ยังมีรายงานการศึกษารางจืดพบว่าแก้โรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังใช้แก้พิษได้อีกหลายอย่าง
เช่น สุนัขโดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาเพราะเจ้าของคั้นน้ำรางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยา
ก็มักแก้ด้วยรางจืดรวมทั้งพิษเบื่อเมาจากอาหาร เช่น เห็ด ผักหวาน ว่านพิษ หรือพิษจากสัตว์
สรรพคุณที่เป็นรูปธรรมของรางจืดยังมีอีกมาก เช่น สามารถแก้อาการท้องร่วง อาการแพ้
ผื่นคันเนื่องจากอาหารเป็นพิษ รางจืดที่ใช้ในการขจัดสารพิษและแก้เมาค้างนั้น คือ รางจืดเถา
ชนิดดอกสีม่วงเพราะมีโอสถสารที่รากและใบแรงกว่ารางจืดชนิดอื่น วิธีใช้ก็คือ
จะใช้อย่างสดหรืออย่างแห้งก็ได้ อย่างสดก็เด็ดใบรางจืดมา 4-5 ใบ โขลกตาผสมน้ำหรือน้ำซาวข้าวยิ่งดี
แล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้ รางจืดแห้ง 300 กรัม (3 ขีด) ต่อน้ำ 1ลิตร และให้ดื่มน้ำรางจืด
200 ml.ทุก 2 ช.ม. แต่หากท่านใดสนใจจะชงดื่มเป็นชา มีวิธีชงดังนี้ นำใบรางจืดแห้ง
1 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 กาเล็ก (ใส่น้าประมาณ 8 แก้ว)
ดื่มต่างกับน้ำทั้งวันชงดื่มได้ทุกวันโดยไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงบ้างเล็กน้อย
ส่วนการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น มีการศึกษาครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทดลองในหนูขาวให้หนูได้รับพิษโฟลิดอล ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง
อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตก็พบว่าใบรางจืดสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิ
ษโฟลิดอลได้ดีพอควรแม้ยังไม่รู้ถึงกลไกการแก้พิษร้ายนี้ก็ตาม และเมื่อราว ๖-๗
ปีก่อนมีความพยายามแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ได้รับสารพิษทางการเกษตร
จาพวกยาฆ่าปราบศัตรูพืชต่างๆโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี ได้ทำการศึกษา โดยเก็บ
ข้อมูลเบื้องต้นในการใช้รางจืดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้า คือ "พาราควอท"(ชื่อการค้ากรัมม็อกโซน)
หลังจากใช้รางจืดรักษาควบคู่กับวิธีของทางโรงพยาบาล พบความอัศจรรย์ว่า ผู้ป่วยรอดชีวิตร้อยละ
๕๑ ดีกว่าแต่ก่อนครึ่งต่อครึ่ง สรรพคุณที่ฮิตที่สุดของรางจืดในปัจจุบันเห็นทีจะไม่พ้นการเมาค้าง
หรือดื่มหนัก (ไม่ขับ) วิธีใช้ว่ากันตามแบบฉบับคลาสสิก ใช้ได้ทั้งการกินสดๆ และแห้ง คือ
เอาใบสด ๔-๕ ใบ ใส่ครกตาผสมน้าถ้าได้น้าซาวข้าวยิ่งดี แล้วคั้นเอาน้าดื่ม หรือจะใช้ส่วนที่เป็นราก
และเถารางจืดสดตาคั้นก็ได้ส่วนวิธีแห้ง ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลานี้ คือ การนาใบแห้งมาชงกับน้าดื่ม
เหมือนชงชาจีนนั่นแหละ ส่วนความเข้มของยาแล้วแต่จะชงอ่อนชงแก่
จากงานวิจัยเรื่อง "การทดลองใช้รางจืดแก้พิษยาฆ่าแมลง
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น
มีการศึกษาครั้งแรกที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากงานวิจัยเรื่อง "การทดลองใช้รางจืดแก้พิษยาฆ่าแมลง"
ทดลองในหนูขาว ให้หนูได้รับพิษโฟลิดอล
ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงตราหัวกระโหลกไขว้
อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟต
ก็พบว่าสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิษโฟลิดอลได้ดีมาก
คือจากร้อยละ 66.33 เหลือแค่ร้อยละ 25 เท่านั้น
การศึกษาทดลองฤทธิ์ลดไข้ในหนูขาว พบว่าได้ผลดี
ทดสอบใช้ใบรางจืดแก้พิษยาฆ่าแมลง Folidol-
E พบว่าน้ำสกัดจากใบรางจืดร่วมกับ Nropine
สามารถลดอัตราการตายของสัตว์ได้
ทดลองในหนูพบว่าน้ำสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ต้านพิษยาฆ่าแมลงชนิ
ด Organophosphates ได้
ในปี 2546 วิรวรรณ วิสิฐพงศ์พันธ์ ปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้วิจัยเรื่อง "การทดสอบความเป็นพิษของน้ำสกัดใบรางจืด"
ได้ผลสรุปว่า
น้ำสกัดใบรางจืดไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพ
ยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อ ของอวัยวะภายในของหนูขาว
และไม่ก่อให้เกิดพิษต่อเซลล์เนื่องจ
ากไม่เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ
และมีแนวโน้มว่าอาจมีฤทธิ์ช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์มากกว่าก่
อให้เกิดพิษ ที่มา : วารสานสมุนไพรปีที่ 10(2)ธ.ค. 2546
นอกจากนี้รศ.ดร.วีระวรรณ เรืองยุทธิการณ์
ยังได้วิจัยเรื่อง "การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบรางจืด"
โดยทดลองกับหนูขาว 350 ตัว พบว่า
ไม่มีผลเป็นพิษต่อหนูขาวและน้ำสกัดรางจืดที่เตรียมด้วยน้ำร้อนมีผ
ลลดอัตราการตายของหนูขาวได้ดีกว่าน้ำสกัดที่ทำจากน้ำเย็น
และพบว่าใบรางจืดแห้งสามารถใช้แก้พิษโฟลิดอนได้เช่นเดียวกับ
ใบรางจืดสด
โดยสามารถแก้พิษยาฆ่าแมลงประเภทorganophosphatesได้
มีข้อแนะนำว่าควรระวังในการนำไปใช้กับสตรีมีครรภ์
ผู้ที่มีความดันต่ำ และผู้ที่เป็นโรคหืด
โดยพบว่ามีฤทธิโดยตรงกระตุ้นการทำงานของ non-vascular
smooth muscle
ทำให้การทำงานกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและอาจออกฤทธิ์ผ่าน
Cholinergic recepterCholinergic receptor
เป็นผลให้ความดันลดลง
กลไกแท้จริงในการแก้พิษคาดว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับขอบเขตทาง
ชีวเคมีมากกว่าทางเภสัชวิทยา
ภญ.ณัฏฐิยา พงศ์ผาสุก
หนึ่งในคณะผู้วิจัยกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลมหาราชนคร
ราชสีมา กล่าวว่า ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขปี
2546 ที่ผ่านมา ได้นำเสนอผลการศึกษาการใช้รางจืด
ทดแทนยาต้านการอักเสบ
เนื่องจาก ในปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ยาต้านอักเสบในกลุ่มลดบวม
เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
อีกทั้งยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงมาก
ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังบาง
มีผลต่อกระเพาะอาหาร เป็นต้น
จากการค้นคว้างานวิชาการ พบว่า
รางจืด ซึ่งเป็นพืชในตระกูลอาคันทาเซอี
ใช้เอทานอลสกัดได้สารสำคัญช่วยลด
การอักเสบในอุ้งเท้าและหูหนูได้ ดังนั้น
คณะผู้วิจัยจึงนำสมุนไพรมาพัฒนาเพื่อใช้ร่วมในการรักษา
โดยศึกษาเปรียบเทียบสูตรตำรับเจลรางจืด 6
ตำรับ เพื่อหาสูตรตำรับที่มีความคงตัวดีที่สุด
ศึกษาความคงตัวทางกายภาพ และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
เปรียบเทียบความเข้มข้นระดับต่าง ๆ
ของเจลรางจืดที่ลดบวมดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า
ตำรับเจลรางจืดความเข้มข้น 40 %
ที่มีโพโลซานเนอร์เป็นสารก่อเจล และ
โปรปีลีน ไกลคอล เป็นสารที่ช่วยในการดูดซึม
ให้ผลในการลดบวมดีที่สุด มีความคงตัวทางกายภาพ
รวมทั้งมีฤทธิ์ลดบวมได้ไม่แตกต่างจากยา Diclofenac Emulgel
ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ.
ที่มา:“เภสัชกร” ไทยเจ๋ง วิจัย“เจลรางจืด”
ทางเลือกใหม่ใช้ต้านการอักเสบ.ผู้จัดการ.การวิจัย
ผลของรางจืดต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดและร
ะบบสืบพันธ์ของหนูขาวที่เป็นเบาหวานของสาริกา
อริธชาติ สุลักษณ์ วุทธีรพลและกนกพรแสนเพชร
พบว่า เมื่อป้อนให้หนูเบาหวานเป็นระยะเวลา 15
วันสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูเบาหวานได้และมีแนวโน้มลดน้ำ
ตาลในนเลือดหนูปกติได้
ศ.ดร.ธีระยุทธ กลิ่นสุคนธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ได้วิจัยเรื่อง " การศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดใน
และรากของรางจืดในการแก้พิษแอลกอฮอล "
ได้ผลสรุปว่า ผลของสารสกัดจากใบรางจืด
ต่อการป้องกันการทำลายตับจากอัลกอฮอล
พบว่าที่ระยะเวลา 15 ชั่วโมง
หลังจากได้รับเอทธานอลเข้าไปสารสกัดจากใบรางจืดในขนาด
200 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
มีผลทำให้การเกิดพิษที่ตับอันเนื่องมากจากเอทธานอลลดลง
คือ มี การลดลงของตัวบ่งชี้การเกิดพิษที่ตับ
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสามารถไปลดการสูญเสียความสามารถในก
ารตอบสนองซึ่งเกิดจากการได้รับเอทธานอลในปริมาณสูงได้อีกด้
วย
ผลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพทั่วไปและการ
ทำงานของตับในระดับโมเลกุล
ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ด้วยฤทธิ์ของสารสกัดจา
กใบรางจืด
จากผลการทดลองที่ได้ในครั้งนี้สรุปได้ว่าถ้าได้รับสารสกัดจากใบ
รางจืดในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนการได้รับเอทธาน
อลเข้าไปสามารถไปลดการเกิดพิษที่ตับอันเนื่องจากเอทธานอล
ผศ.ดร.วัชรีวรรณ ทองสะอาด คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการวิจัยเรื่อง "
สารสกัดสมุนไพรกับการรักษาภาวะการณ์ติดสารเสพติดในหนูทด
ลอง " ผลการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่า
รางจืดมีผลกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีนจากสมอ
งส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและความพึงพอใจ
คล้ายผลของสารเสพติดแอมเฟตามีนและโคเคน
2) เมื่อให้รางจืดเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ไม่แสดงผลในการติดยา
3)
รางจืดมีผลกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเคลื่อนไ
หวและความพึงพอใจคือ นิวเครียสแอคคัมเบน คอร์เดท นิวเครียส
และอะมิกดาลา นิวเครียสเช่นเดียวกับผลของสารเสพติด
ศิริวรรณ (2522) พบว่าสารสกัดใบรางจืด
สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Aerobacter
aerogens ได้ ในขณะที่ Kongyingyos และคณะ (1990)
ใช้น้ำสกัดใบรางจืดยับยั้งการเจริญของไวรัส hepes simplex type
1 และChanawirat(2000)
ใช้สารสกัดจากใบรางจืดลดพิษต่อตับของอัลกอฮอล์ในหนูถีบจักร
ได้ ส่วนสุพรและคณะ(2541)
ได้พัฒนาสารสกัดใบรางจืดเป็นยาทาภาย-
นอกสำหรับต้านการอักเสบ
เพราะสามารถต้านการอักเสบในหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญทา
งสถิตินอกจากนี้มีการทดสอบยืนยันว่าน้ำสกัดใบรางจืดสามารถลด
อัตราการตายของหนูขาวเนื่องจากพิษของสารกำจัดแมลงได้
(พาณี และ ชัชวดี,2523, วีระวรรณ, 2523)
และยังสามารถลดอุณหภูมิร่างกายหนูขาวได้ด้วย (บุษบง, 2521)
วารสารสมุนไพร ปีที่ 10(2) ธ.ค. 2546
ได้รายงานการทดสอบความเป็นพิษต่อหนูขาว โดย วิรวรรณ
วิสิฐพงศ์พันธ์ วีระวรรณ เรืองยุทธิการณ์ ไชยยง รุจจนเวท
อำไพ ปั้นทอง อุษณีย์ วินิจ เขตคำนวณ นิรัชร์ เลิศประเสริฐสุข
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผลสรุปว่าไม่ทำให้
lipid membrane เสียหายจึงไม่เป็นพิษต่อเซลล์
เนื่องจากไม่เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระและมีแนวโน้มว่าอาจมีฤท
ธิ์ช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์มากกว่าก่อให้เกิดพิษ
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพื่อศึกษาผลของการใช้รางจื
ดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ พาราควอท (Paraquat)
โดยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี ซึ่งสรุปได้ว่า
รางจืดมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับสารพาราควาอทรอดชีวิตได้มาก
ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ศูนย์ข้อมูลด้านสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ระบุว่ารางจืดได้ชื่อว่าเป็นยอดสมุนไพรต้านพิษ
ใช้ล้างพิษได้สารพัด ทั้งพิษจากเหล้า บุหรี่ ยาฆ่าแมลง สารเคมี
มลภาวะต่างๆ ไปจนถึงพิษร้ายแรงจากสัตว์ อาทิ แมงกะพรุนไฟ
แมงดาทะเล
รายงายวิจัยที่จังหวัดอ่างทอง บรรจุแคปซูลให้
ชาวนาชาวไร่ ทานแล้วไปตรวจเลือด พบว่า DDT
ในกระแสเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โรงพยาบาลบางกระทุ่ม และโรงพยาบาลเดชอุดม
ศึกษาสรรพคุณของชาชงรางจืด
เพื่อต้านพิษของสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่ม organophosphate
ชาชงรางจืดสามารถเพิ่ม activity ของเอนไซม์ cholinesterase
ในเลือด แต่การศึกษายังไม่อาจสรุปผลได้
คณะเภสัชศาสคร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษต่อตับของแอลกอฮอล์
พบว่า
สารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วยป้องกันการตายข
องเซลตับจากพิษของแอลกอฮอล์ในหลอดทดลอง
และในหนูขาวที่ได้รับแอลกอฮอล์
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ใช้สมุนไพรรางจืด แก้พิษจากการบริโภคไข่แมงดาทะเลในผู้ป่วย
2 ราย พบว่ามีอาการดีขึ้น
ทำให้มีแนวคิดเพิ่มเติมว่าจะสามารถนำรางจืดไปใช้แก้พิษในปลา
ปักเป้าได้หรือไม่ เพราะเป็น Tetrodotoxin เหมือนกัน
รายงานการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของสมุนไพรรางจืดในการลดสา
รกำจัดแมลงตกค้างในกระแสโลหิตของเกษตรกรในอำเภอโพธิ์ทอ
ง จังหวัดอ่างทอง ของ ไพศาล ดั่นคุ้ม
รักษาการนายแพทย์ด้นเวชกรรมป้องกัน
สำนักงานสารธารณสุขจังหวัดอ่างทอง โดยกลุ่มทดลอง161
คน(ทานรางจืด)และกลุ่มควบคุม 137 คน คนทั้ง 2
กลุ่มอยู่ในระดับป่วยเนื่องจากมีสารพิษตกค้างในกระแสเลือดในระ
ดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
ผลปรากฎว่าระดับของสารตกค้างในกระแสเลือดของทั้ง 2
กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ 95 %
ของกลุ่มทดลองอยู่ในระดับหายป่วย
แสดงว่าสมุนไพรรางจืดมีประสิทธิผลในการลดระดับสารกำจัดแมล
งตกค้างในกระแสเลือด ที่มา วารสารอาหารและยา 8, 3 (กันยายน-
ธันวาคม 2544)
สุพัตรา ปรศุพัฒนา; ปราโมทย์ มหคุณากร; ธานี
เทศศิริ; สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิจัยเรื่อง "ผลของรางจืดต่อการลดพิษพาราควอท"
ได้ทำการแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ได้รับพาราควอทกับน้ำ (กลุ่มควบคุม)
กลุ่มที่ได้รับพาราควอทกับสารสกัดจากใบรางจืดด้วยน้ำร้อน
และกลุ่มที่ได้รับพาราควอทกับสารสกัดจากใบรางจืดด้วยน้ำที่อุณ
หภูมิห้อง
ผลของสารสกัดจากใบรางจืดต่อการมีชีวิตอยู่รอดในหนูที่ได้รับพา
ราควอท 70 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (LD50=67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
หลังจากได้รับพาราควอท 24
ชั่วโมงพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบรางจืดมีชีวิตรอดสูงกว่
ากลุ่มควบคุม (p<0.01)
ผลของสารสกัดจากใบรางจืดต่อระดับพลาสม่า MDA
และวิตามินอีในหนูที่ถูกทำให้เกิดพิษจากพาราควอท 60 มิลลิกรัม/
กิโลกรัม พบว่า
หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบรางจืดมีระดับพลาสม่า MDA
ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01)
ขณะที่ไม่พบความแตกต่างของระดับพลาสม่า วิตามินอีทั้ง 3 กลุ่ม
(p>0.05)
จากผลการศึกษาเห็นได้ว่าสารสกัดจากใบรางจืดสามารถช่วยลดพิ
ษจากการเกิดพิษของพาราควอทในหนูขาว
สุขสันต์ ช่างเหล้ก และจิตบรรจง ตั้งปอง
แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "สารประกอบฟีนอลิกในรางจืดป้อง
กันการเสื่อมของระบบประสาทจากพิษตะกั่ว" สรุปผลได้ว่า "
สารประกอบฟินอลิกในรางจืดมีผลป้องกันการสูญเสียการเรียนรู้
และความทรงจำที่เกิดจากการได้รับพิษตะกั่วเหนี่ยวนำให้เกิดควา
มผิดปกติของระบบเหนี่ยวนำสมอง
ปลายปี 2552 ดร.อัจฉรา ศรีสดใส คณะเภสัชศาสตร์ ,
ดร. ปราโมทย์ มหคุณากร
ได้เสนองานวิจัยเรื่อง "การศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านอักเสบขอ
งสารสกัดใบรางจืด:ผลยับยั้งการแสดงออกของยีนต์
cyclooxyense-2 inducible nitricoxide synsthase
ในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ"พบว่าสารสกัดจากใบรางจืดมีฤทธิ์ยั
บยั้งการสร้างสาร nitric oxide (NO) และสาร prostaglandin E2
(PGE2) ในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ (RAW 264.7)
ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) นอกจากนั้น
ยังพบว่าสารสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ COX-2
mRNA และ iNOS mRNA ในลักษณะ dose-dependent
ซึ่งผลการศึกษาในระดับโมเลกุลมีความสอดคล้องกับผลการศึกษา
ในระดับชีวเคมี
โดยข้อมูลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษา
กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับขบวนการอักเสบในการสร้างสาร COX-2
และ iNOS เช่น rheumatoid arthritisis, osteoarthritis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE
ชื่ออื่น: ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องคำ, พญาปล้องดำ, พญายอ, เสลดพังพอน, พญาปล้องทอง
รูปลักษณะ: เสลดพังพอนตัวเมีย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก
กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม
โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณของ เสลดพังพอนตัวเมีย : ใบสด ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน
โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด
เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน แล้วกรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ ให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง
เติมกลีเซอรินเท่าตัว
งานวิจัยเกี่ยวกับสเลดพังพอนตัวเมีย(พยายอ)
1. ฤทธิ์รักษาโรคงูสวัด
ศึกษาโดยนำสารสกัดจากใบพญายอที่ความเข้มข้นต่างๆ
มาศึกษาโดยวิธี plaque reduction assay พบว่า ที่ความเข้มข้น
1:1,200 ยับยั้งเชื้อไวรัส Varicella zoster ก่อนเข้าสู่เซลล์ได้
50% ขนาด 1: 4,800 จะฆ่าเชื้อดังกล่าวในเซลล์ และขนาด 1:
9,600 สามารถทำลายเชื้อไวรัสโดยตรงได้ 50% จะเห็นได้ว่า
เมื่อเชื้อเข้าสู่เซลล์แล้ว ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสจะลดลง
มีการเตรียมเป็นยาทาในรูปทิงเจอร์เพื่อใช้รักษาอา
การอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กิโลกรัม
ปั่นละเอียด เติม 70% แอลกอฮอล์ 1 ลิตร หมักนาน 7 วัน
กรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง
แล้วเติมกลีเซอรีนเท่าตัว
2. ฤทธิ์ลดการอักเสบ พบว่า เมื่อนำสารสกัดด้วย
n-butanol จากใบให้ทางปากหนูขาว
จะลดการอักเสบของอุ้งเท้าที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan
และลดการอักเสบของถุงลมหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดโดยฉีดลมแ
ละน้ำมันละหุ่ง ได้
3. ไม่มีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ผื่นแพ้และตุ่มคัน
แต่การช่วยรักษาอาการดังกล่าวอาจเนื่องมาจากฤทธิ์ลดการอักเส

7. การวิจัยทางคลินิก
1.
มีการทดลองทางคลินิกในการใช้กลีเซอรีนพญ
ายอในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นแผล อักเสบในปาก
ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 7 ราย พบว่า
สามารถลดอาการปวดอักเสบและรักษาแผลหายภายใน 1-3 วัน
2. ผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ
เมื่อรักษาโดยทาแผลของผู้ป่วยด้วยครีมพญายอ (5%)
เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Acyclovir และยาหลอก พบว่า
แผลของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัด
ใบพญายอและ Acyclovir จะตกสะเก็ดภายในวันที่ 3
และหายภายในวันที่ 7 แสดงว่าครีมพญายอและครีม Acyclovir
มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพัน
ธ์ให้หายได้เร็วพอ กัน แต่ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการแสบ
ระคายเคืองในขณะที่ครีม Acyclovir ทำให้แสบและราคาแพง
3. ผู้ป่วยโรคงูสวัด เมื่อรักษาโดยทาแผลด้วยครีมพญายอ
(5%) วันละ 5 ครั้งทุกวัน ปรากฏว่าแผลจะตกสะเก็ดภายใน
1-3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน
ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกแผลจะตกสะเก็ดภายใน 4-7 วัน
และหายภายใน 10-14 วัน ผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาด้วยครีมพญายอ
จะมีระดับความเจ็บปวดลดลงรวดเร็วกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาหลอก
และไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ จากการใช้สารสกัดใบพญายอ

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

หนูกัดเหล็ก


หนูกัดเหล็ก
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว    มีเศรษฐีคนหนึ่งมีลูกชายเป็นคนไม่รักดี    ได้แต่ใช้จ่ายทรัพย์เที่ยว  กิน  เล่น   เลี้ยงเพื่อนฝูง   ไม่นึกทำมาหากิน    พ่อแม่จะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง
ในที่สุดเศรษฐีก็ตรอมใจตาย    แต่ก่อนตายได้เอาเงินกับทองใส่ตุ่มอย่างละตุ่มฝังไว้    และด้วยความดีที่ได้กระทำมา    ส่งผลให้เศรษฐีไปเกิดเป็นเทวดา
ฝ่ายลูกเศรษฐีเมื่อพ่อแม่ตายแล้วก็ยิ่งกำเริบ    ใช้เงินเลี้ยงเพื่อนเที่ยวเตร่เสเพล    ไม่นานเงินก็หมด     เพื่อนฝูงที่เคยล้อมหน้าล้อมหลังก็หายหน้าไปทีละคน
อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนชวนไปกินเลี้ยงกันตามเคย     โดยสั่งลูกเศรษฐีตกยากว่าถ้าคิดจะไปกินเลี้ยง     ก็ให้เอาไก่ไปร่วมในการกินเลี้ยงด้วยหนึ่งตัวลูกเศรษฐีอยากกินเลี้ยงมาก    ถึงแม้จะไม่มีเงินแล้ว     ก็ยังขวนขวายหาไก่
ได้ตัวหนึ่ง    จึงจัดการลวกน้ำร้อนถอนขน     แล้วผูกห่อใบตองเตรียมที่จะไปร่วมงานกินเลี้ยง
ครั้นเดินมาตามทาง    เพราะความเหนื่อยจึงแวะพักใต้ต้นไม้ข้างทางแล้วม่อยหลับไป    บังเอิญมีอีกาตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้นั้น    ได้กลิ่นเนื้อโชยมาจากใบตอง    จึงบินโฉบลงมาคาบห่อใบตองไป เขาจึงต้องไปงานกินเลี้ยงมือเปล่า          พอถึงบ้านเพื่อนที่นัดกินเลี้ยงก็เล่าให้เพื่อนฟัง     แต่ไม่มีใครเชื่อในคำพูดของเขาเลยต่างคิดว่าเขาคงไม่มีปัญญาหาไก่มา     จึงกุเรื่องแก้เก้อ     แถมยังพูดจาเยาะเย้ยถากถางว่าไม่มีปัญญาหาไก่มา     แล้วยังไปโทษอีกาอีก
ลูกเศรษฐีทั้งเจ็บทั้งอายตัดสินใจไม่ร่วมวงกินเลี้ยงด้วย    รีบเดินทางกลับบ้านเมื่อถึงบ้านแล้วก็ยังน้อยใจไม่หาย    นึกถึงความหลังที่ตนมั่งมีเงินทอง    ผู้คนล้อมหน้าล้อมหลัง  เสียใจกินไม่ได้   นอนไม่หลับ   ร่างกายก็ผ่ายผอมลง
ฝ่ายเทวดาพ่อแม่เห็นอาการของลูกก็อดสงสารเสียมิได้   จึงมาเข้าฝันลูกว่า
"นั่นแหละลูกเอ๋ย   เมื่อพ่อแม่ยังอยู่ก็ได้สอนเจ้านักหนาเรื่องการใช้เงินทองเมื่อยามลำบากยากจน    ใครเขาจะมานับถือ    พูดจริงก็เป็นหลอกไปได้ ขอให้เจ้ารู้สึกตัวและทำตัวเสียใหม่     พ่อแม่จะช่วย"       ในฝันนั้นเองลูกเศรษฐีก็คิดได้     จึงสัญญากับพ่อแม่ว่า     ต่อไปจะเลิกความประพฤติเดิมจะตั้งใจทำมาหากิน     เลี้ยงตัวให้มีเงินพอ    จะไม่ให้ใครมาดูถูกได้อีกต่อไป
เมื่อเทวดาพ่อแม่ได้รับคำสัญญาจากลูกเช่นนั้นก็พอใจยิ่งนัก     เมื่อลูกสัญญาว่าจะกลับตัว
เป็นคนดีจึงได้บอกที่ซ่อนตุ่มเงินและตุ่มทองให้ในฝันนั้นเอ'
พอตื่นขึ้นมาลูกเศรษฐีก็รีบไปขุดหาตุ่มเงินตุ่มทอง     ก็พบจริงตามฝัน จึงนำเงินในตุ่มมาทำทุนตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน    ไม่นานก็กลับฟื้นตัวพอมีฐานะขึ้นอีก    เพื่อนที่เคยหนีหาย    ก็เริ่มกลับมาคบหาเพิ่มขึ้นทุกวัน
ลูกเศรษฐียังจำวันที่เพื่อนฝูงเยาะเย้ยได้ไม่ลืม    วันหนึ่งลูกเศรษฐีเห็นได้โอกาสจึงชวนเพื่อนมากินเลี้ยงกันอีกเหมือนเมื่อยังร่ำรวยหนก่อน    เพื่อนฝูงต่างก็มากันพร้อมหน้าพร้อมตาขณะที่กินเลี้ยงอย่างครึกครื้นเฮฮาอยู่นั้น    ลูกเศรษฐีได้นำมีดเหี้ยนๆ    เล่มหนึ่งมาให้เพื่อนดูพลางพูดขึ้นว่า
"อัศจรรย์จริงๆ    มีดเล่มนี้เพิ่งซื้อมาใหม่ๆ   แท้ๆ    ทิ้งไว้คืนเดียวหนูมากัดเสียจนเหี้ยนหมดเหลือเท่านี้เอง"
เพื่อนฝูงทั้งหลายเมื่อได้ยินก็รับคำเชื่อตามคำพูด    บางคนก็ประสมโรงพูดว่า"จริงเหมือนเพื่อนว่าหนูมันร้ายนัก    มีดของเราก็เคยโดนเหมือนกัน    เหี้ยนเหมือนอย่างนี้ไม่มีผิด"เพื่อนคนอื่นก็พูดว่า  "ใช่ๆ"   คนละคำสองคำ         
ลูกเศรษฐีเมื่อได้ยินดังนั้น ก็คิดได้ว่า
"ยามเมื่อเรายากจนคนดูถูก ถ้อยคำที่พูดไม่มีน้ำหนัก    ถึงพูดความจริงก็ยังไม่มีคนเชื่อ
แต่เมื่อยามมั่งมีเงินทอง    จะพูดอย่างไรจริงหรือเท็จไม่สำคัญ    คนย่อมยอมรับเชื่อถือ"


วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หญ้าแฟก


altalt

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์ และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก”
ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่าVetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  • การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
    ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้
  • การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก
  • การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
  • การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน
  • การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา
  • การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรอง
    ตะกอนดิน
  • การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม
  • การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท
    เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
  • การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
  • การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมี
    ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น
ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก
  • ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน
  • ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้
    มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้
  • หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น
    ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”
    จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
    “ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมต ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์ ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไป
    อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

แกล้งดิน


alt

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่าหลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่
ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ
พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพ
เป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน"
เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไป
กระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืช
ไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้
1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
2.การปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม คือ
  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้
  • การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่นซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
  • การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน
3. การปรับสภาพพื้นที่ มีอยู่ 2 วิธี คือ
  • การปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือ
    • ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำ
    • ตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้
  • การยกร่องปลูกพืช สำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ย ๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผัก และควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้

วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
1. เพื่อใช้ปลูกข้าว
  • เขตชลประทาน
    - ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
    - ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ในอัตรา 1 ตัน/ไร่
  • เขตเกษตรน้ำฝน
    - ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตรา 2.5 ตัน/ไร่
    - ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
  • ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยว
    หลังจากหว่านปูนให้ทำการไถแปร และปล่อยน้ำให้แช่ขังในนาประมาณ 10 วัน จากนั้นระบายน้ำออกเพื่อชะล้างสารพิษ และขังน้ำใหม่เพื่อรอปักดำ
2. เพื่อใช้ปลูกพืชล้มลุก
  • การปลูกพืชผัก มีวิธีการ คือ
    • ยกร่อง กว้าง 6-7 เมตร คูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 50 ซม.
    • ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน
    • ทำแปลงย่อยบนสันร่อง ยกแปลงให้สูง 25-30 ซม. กว้าง 1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะ
      เมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตก
    • ใส่หินปูนฝุ่นหรือดินมาร์ล 2-3 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วัน
    • ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดิน
  • การปลูกพืชไร่บางชนิด กระทำได้ 2 วิธี คือ
    • แบบยกร่องสวนและแบบปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากการทำนา
      • การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนมีวิธีเตรียมพื้นที่เช่นเดียว
        กับการปลูกพืชผัก
      • การปลูกพืชไร่หลังฤดูทำนา ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน
    การเตรียมพื้นที่ต้องยกแนวร่องให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดอน 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแช่ขังถ้ามีฝนตกผิดฤดู ถ้าพื้นที่นั้นได้รับการปรับปรุงโดยการใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก
3. เพื่อปลูกไม้ผล
  • สร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อป้องกันน้ำขัง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ
  • ยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผล
  • น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทน ช่วงเวลาถ่ายน้ำ 3-4 เดือนต่อครั้ง
  • ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
  • ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่
  • กำหนดระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืช
  • ขุดหลุม กว้าง ยาว และลึก 50-100 ซม. แยกดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอก
    หรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่างแล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กก./ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตรา 15 กก./หลุม
  • ดูแลปราบวัชพืช โรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินขึ้นกับความต้องการและชนิดของพืชที่จะปลูก

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า


เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยัง   ทรงพระเยาว์ว่า".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ   10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้วสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด  ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะเรียนมาตั้งแต่อายุ  10 ขวบ....."   การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม  ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ   ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึงปัญหาทางสังคม  เศรษฐกิจ การเมืองคุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า  มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไป  อย่างโดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด  เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่างประสานสัมพันธ์  กันแนวพระราชดำริด้านการป่าไม้
ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี  พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด 3 ชนิดที่แตกต่างกัน คือไม้ผลไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจเพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ  และวิถีประชาในชุมชนประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึด เป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า "เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน  แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง" นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้

ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฎธรรมชาติ 
(Natural  Reforestation)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ คือ
                   กลยุทธ์การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นไปตามหลักการกฎธรรมชาติ  (Natural  Reforestation)  อาศัยระบบวงจรป่าไม้  และการทดแทนตามธรรมชาติ  (Natural  Reforestation)  คือ  การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้และควบคุมไม่ให้มีคนเข้าไปตัดไม้ไม่มีการรบกวนเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ  เมื่อทิ้งไว้ช่วงระยะเวลา

การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก

“...ทิ้งป่าไม้นั้นไว้ 4 ปี ตรงนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตเป็นป่าสมบูรณ์ โดยไม่ต้องปลูกสักต้นเดียว... คือว่าการปลูกนั้น สำหรับอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง...” 
พระราชดำรัส วันที่ 4 ธันวาคม 2537
  1. ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ด้วยวิธีการ 3 วิธี คือ 
    ก. " ถ้าเลือกได้ที่ที่เหมาะสมแล้ว   ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลยป่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว" ข. " ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้เพียงแต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น…” ค. " ในสภาพป่าเต็งรังป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ ก็จะแตกกิ่งออกมาอีกถึงแม้ต้นไม้สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้"
  2. ปลูกป่าในที่สูง ทรงแนะนำวิธีการ ดังนี้
    " ใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดทั้งหลายปลูกบนยอดที่สูง เมื่อโตแล้วออกฝัก ออกเมล็ด ก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกเองในที่ต่ำต่อไปเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ"  "การปลูกป่าทดแทนจะต้องรีบปลูกต้นไม้ คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อ ให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไป..."
  3. ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือ การปลูกป่าธรรมชาต
    ทรงเสนอแนวทางปฏิบัติว่า
    ก.  ปลูกต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เดิม คือ " ศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้างแล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ "
    ข. งดปลูกไม้ผิดแผกจากถิ่นเดิม คือ "ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน "
  4. การปลูกทดแทน
    ในขณะนี้ประเทศไทยเรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ประมาณการได้เพียง 80 ล้านไร่เท่านั้น หากจะเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศแล้วคนไทยจะต้องช่วยกันปลูกป่าถึง 48 ล้านไร่โดยใช้กล้าไม้ปลูกไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านต้นใช้เวลาถึง 20 ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้นการปลูกป่าทดแทนจึงเป็นแนวทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมรรควิธีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินด้วยวิถีทางแบบผสมผสานกันในเชิงปฏิบัติดังพระราชดำริ ความตอนหนึ่งว่า  “การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขาในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกันสำรวจต้นน้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้นน้ำ และพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง”
    • การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา  “...การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา  จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆ  ชนิด  เพื่อให้ได้ประโยชน์อเนกประสงค์  คือ มีทั้งไม้ผล  ไม้สำหรับก่อสร้าง  และไม้สำหรับทำฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้  ซึ่งเมื่อตัดไปใช้แล้วก็ปลูกทดแทนเพื่อหมุนเวียนทันที..."    
      พระราชดำรัส  วันที่ 26 มกราคม 2550  ณ โครงการจัดการลุ่มน้ำแม่สา  อำเภอแม่ริน  จังหวัดเชียงใหม่
       
    • การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
      “ปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ  ทวีขึ้น  และแผ่ขยายกว้างออกไปทั้งสองข้างร่องน้ำอันจะทำให้ต้นไม้งอกงามขึ้น  และจำมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า  ซึ่งจะเกิด…..
  5. การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง : การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยพระปรีชาญาณอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดยาวนานที่สุดและทั่วถึงกัน
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำการปลูกป่าในเชิงผสมผสานทั้งด้านเกษตรวนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมไว้เป็นมรรควิธี ปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จนั้นไว้ด้วยลักษณะทั่วไปของป่า อย่างพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างนั้น มีพระราชดำรัส ความว่า
    "ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆใหญ่ๆการที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ในคำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้รู้สึกจะไม่ใช่ป่าไม้  เป็นสวนหรือจะเป็นสวนมากกว่าป่าไม้แต่ในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อต้นน้ำลำธารนั้นป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืนก็ตามนั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้องเพราะทำหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับให้ผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้..." 
      และได้มีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า
    " การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่างแต่มีประโยชน์ 3 อย่าง คือไม้ใช้สอยไม้กินได้ไม้เศรษฐกิจโดยปลูกรองรับการชลประทานปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ..." พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ดำเนินการ ในหลายส่วนราชการทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่งคือการป่าไม้ใช้สอยโดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใชในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์และสะเดา เป็นต้น
  6. วิธีการปลูกป่าเพื่อทดแทนหมุนเวียน  
    นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเดิมเกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อใช้ทำฟืนว่า "...การปลูกป่าสำหรับใช้เป็นฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ในการนี้จำเป็นต้องใช้เป็นประจำในการนี้จะต้องคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้ปลูกเปรียบเทียบกับจำนวนของราษฎรตลอดจนการปลูกและตัดต้นไม้ไปใช้จะต้องใช้ระบบหมุนเวียนและมีการปลูกทดแทนอันจะทำให้มีไม้ฟืนสำหรับใช้ตลอดเวลา..." 
    วิธีการปลูกป่าทดแทน 
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสมกล่าวคือ
    1. ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม " การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจนเป็นภูเขาหัวโล้นแล้วจำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้นควรจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็ว คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อย ๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาด ความชุ่มชื้นในปีต่อไปก็ให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถัดขึ้นไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีกต้นไม้จะงอกงามดีตลอดทั้งปี " 
       
    2. การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา " จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆชนิดเพื่อให้ได้ประโยชน์เอนกประสงค์คือมีทั้งไม้ผล ไม้สำหรับก่อสร้างและไม้สำหรับทำฟืนซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำซึ่งเมื่อตัดไม้ใช้แล้วก็ปลูกทดแทนหมุนเวียนทันที " 
       
    3. การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง " ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืนซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนแบบธรรมชาติทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย " 
       
    4. ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจากสภาพป่าที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่างและคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดเป็นฝักเพื่อ ให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูกต่อไปจนถึงตีนเขา
       
    5. ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ หรือเหนืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ
       
    6. ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค
    7. ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูก และดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการดูแลฝังจิตสำนึกให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า
    8. ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า