วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หญ้าแฟก


altalt

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์ และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก”
ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่าVetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  • การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
    ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้
  • การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก
  • การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
  • การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน
  • การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา
  • การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรอง
    ตะกอนดิน
  • การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม
  • การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท
    เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
  • การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
  • การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมี
    ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น
ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก
  • ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน
  • ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้
    มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้
  • หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น
    ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”
    จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
    “ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมต ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์ ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไป
    อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

แกล้งดิน


alt

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่าหลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่
ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ
พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพ
เป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน"
เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไป
กระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืช
ไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้
1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
2.การปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม คือ
  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่มที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้
  • การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล ปูนฝุ่นซึ่งปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
  • การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน
3. การปรับสภาพพื้นที่ มีอยู่ 2 วิธี คือ
  • การปรับระดับผิวหน้าดิน ด้วยวิธีการ คือ
    • ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลไปสู่คลองระบายน้ำ
    • ตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้เก็บกักน้ำและระบายน้ำออกไปได้
  • การยกร่องปลูกพืช สำหรับพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ถ้าให้ได้ผลต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อขังและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้น หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ย ๆ พืชที่ปลูกเปลี่ยนเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผัก และควรปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวได้

วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
1. เพื่อใช้ปลูกข้าว
  • เขตชลประทาน
    - ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
    - ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ในอัตรา 1 ตัน/ไร่
  • เขตเกษตรน้ำฝน
    - ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตรา 2.5 ตัน/ไร่
    - ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
  • ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยว
    หลังจากหว่านปูนให้ทำการไถแปร และปล่อยน้ำให้แช่ขังในนาประมาณ 10 วัน จากนั้นระบายน้ำออกเพื่อชะล้างสารพิษ และขังน้ำใหม่เพื่อรอปักดำ
2. เพื่อใช้ปลูกพืชล้มลุก
  • การปลูกพืชผัก มีวิธีการ คือ
    • ยกร่อง กว้าง 6-7 เมตร คูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 50 ซม.
    • ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน
    • ทำแปลงย่อยบนสันร่อง ยกแปลงให้สูง 25-30 ซม. กว้าง 1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะ
      เมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตก
    • ใส่หินปูนฝุ่นหรือดินมาร์ล 2-3 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทิ้งไว้ 15 วัน
    • ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดิน
  • การปลูกพืชไร่บางชนิด กระทำได้ 2 วิธี คือ
    • แบบยกร่องสวนและแบบปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากการทำนา
      • การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนมีวิธีเตรียมพื้นที่เช่นเดียว
        กับการปลูกพืชผัก
      • การปลูกพืชไร่หลังฤดูทำนา ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน
    การเตรียมพื้นที่ต้องยกแนวร่องให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดอน 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแช่ขังถ้ามีฝนตกผิดฤดู ถ้าพื้นที่นั้นได้รับการปรับปรุงโดยการใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก
3. เพื่อปลูกไม้ผล
  • สร้างคันดินกั้นน้ำล้อมรอบแปลงเพื่อป้องกันน้ำขัง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ
  • ยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผล
  • น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทน ช่วงเวลาถ่ายน้ำ 3-4 เดือนต่อครั้ง
  • ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
  • ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่
  • กำหนดระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืช
  • ขุดหลุม กว้าง ยาว และลึก 50-100 ซม. แยกดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอก
    หรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่างแล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กก./ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตรา 15 กก./หลุม
  • ดูแลปราบวัชพืช โรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินขึ้นกับความต้องการและชนิดของพืชที่จะปลูก

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า


เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยัง   ทรงพระเยาว์ว่า".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ   10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้วสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด  ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะเรียนมาตั้งแต่อายุ  10 ขวบ....."   การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม  ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ   ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึงปัญหาทางสังคม  เศรษฐกิจ การเมืองคุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า  มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไป  อย่างโดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด  เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่างประสานสัมพันธ์  กันแนวพระราชดำริด้านการป่าไม้
ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี  พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด 3 ชนิดที่แตกต่างกัน คือไม้ผลไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจเพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ  และวิถีประชาในชุมชนประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึด เป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า "เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน  แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง" นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้

ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฎธรรมชาติ 
(Natural  Reforestation)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ คือ
                   กลยุทธ์การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นไปตามหลักการกฎธรรมชาติ  (Natural  Reforestation)  อาศัยระบบวงจรป่าไม้  และการทดแทนตามธรรมชาติ  (Natural  Reforestation)  คือ  การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้และควบคุมไม่ให้มีคนเข้าไปตัดไม้ไม่มีการรบกวนเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ  เมื่อทิ้งไว้ช่วงระยะเวลา

การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก

“...ทิ้งป่าไม้นั้นไว้ 4 ปี ตรงนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตเป็นป่าสมบูรณ์ โดยไม่ต้องปลูกสักต้นเดียว... คือว่าการปลูกนั้น สำหรับอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง...” 
พระราชดำรัส วันที่ 4 ธันวาคม 2537
  1. ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ด้วยวิธีการ 3 วิธี คือ 
    ก. " ถ้าเลือกได้ที่ที่เหมาะสมแล้ว   ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลยป่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว" ข. " ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้เพียงแต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น…” ค. " ในสภาพป่าเต็งรังป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ ก็จะแตกกิ่งออกมาอีกถึงแม้ต้นไม้สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้"
  2. ปลูกป่าในที่สูง ทรงแนะนำวิธีการ ดังนี้
    " ใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดทั้งหลายปลูกบนยอดที่สูง เมื่อโตแล้วออกฝัก ออกเมล็ด ก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกเองในที่ต่ำต่อไปเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ"  "การปลูกป่าทดแทนจะต้องรีบปลูกต้นไม้ คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อ ให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไป..."
  3. ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือ การปลูกป่าธรรมชาต
    ทรงเสนอแนวทางปฏิบัติว่า
    ก.  ปลูกต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เดิม คือ " ศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้างแล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ "
    ข. งดปลูกไม้ผิดแผกจากถิ่นเดิม คือ "ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน "
  4. การปลูกทดแทน
    ในขณะนี้ประเทศไทยเรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ประมาณการได้เพียง 80 ล้านไร่เท่านั้น หากจะเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศแล้วคนไทยจะต้องช่วยกันปลูกป่าถึง 48 ล้านไร่โดยใช้กล้าไม้ปลูกไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านต้นใช้เวลาถึง 20 ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้นการปลูกป่าทดแทนจึงเป็นแนวทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมรรควิธีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินด้วยวิถีทางแบบผสมผสานกันในเชิงปฏิบัติดังพระราชดำริ ความตอนหนึ่งว่า  “การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขาในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกันสำรวจต้นน้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้นน้ำ และพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง”
    • การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา  “...การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา  จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆ  ชนิด  เพื่อให้ได้ประโยชน์อเนกประสงค์  คือ มีทั้งไม้ผล  ไม้สำหรับก่อสร้าง  และไม้สำหรับทำฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้  ซึ่งเมื่อตัดไปใช้แล้วก็ปลูกทดแทนเพื่อหมุนเวียนทันที..."    
      พระราชดำรัส  วันที่ 26 มกราคม 2550  ณ โครงการจัดการลุ่มน้ำแม่สา  อำเภอแม่ริน  จังหวัดเชียงใหม่
       
    • การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
      “ปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ  ทวีขึ้น  และแผ่ขยายกว้างออกไปทั้งสองข้างร่องน้ำอันจะทำให้ต้นไม้งอกงามขึ้น  และจำมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า  ซึ่งจะเกิด…..
  5. การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง : การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยพระปรีชาญาณอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดยาวนานที่สุดและทั่วถึงกัน
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำการปลูกป่าในเชิงผสมผสานทั้งด้านเกษตรวนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมไว้เป็นมรรควิธี ปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จนั้นไว้ด้วยลักษณะทั่วไปของป่า อย่างพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างนั้น มีพระราชดำรัส ความว่า
    "ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆใหญ่ๆการที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ในคำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้รู้สึกจะไม่ใช่ป่าไม้  เป็นสวนหรือจะเป็นสวนมากกว่าป่าไม้แต่ในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อต้นน้ำลำธารนั้นป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืนก็ตามนั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้องเพราะทำหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับให้ผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้..." 
      และได้มีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า
    " การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่างแต่มีประโยชน์ 3 อย่าง คือไม้ใช้สอยไม้กินได้ไม้เศรษฐกิจโดยปลูกรองรับการชลประทานปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ..." พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ดำเนินการ ในหลายส่วนราชการทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่งคือการป่าไม้ใช้สอยโดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใชในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์และสะเดา เป็นต้น
  6. วิธีการปลูกป่าเพื่อทดแทนหมุนเวียน  
    นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเดิมเกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อใช้ทำฟืนว่า "...การปลูกป่าสำหรับใช้เป็นฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ในการนี้จำเป็นต้องใช้เป็นประจำในการนี้จะต้องคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้ปลูกเปรียบเทียบกับจำนวนของราษฎรตลอดจนการปลูกและตัดต้นไม้ไปใช้จะต้องใช้ระบบหมุนเวียนและมีการปลูกทดแทนอันจะทำให้มีไม้ฟืนสำหรับใช้ตลอดเวลา..." 
    วิธีการปลูกป่าทดแทน 
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสมกล่าวคือ
    1. ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม " การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจนเป็นภูเขาหัวโล้นแล้วจำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้นควรจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็ว คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อย ๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาด ความชุ่มชื้นในปีต่อไปก็ให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถัดขึ้นไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีกต้นไม้จะงอกงามดีตลอดทั้งปี " 
       
    2. การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา " จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆชนิดเพื่อให้ได้ประโยชน์เอนกประสงค์คือมีทั้งไม้ผล ไม้สำหรับก่อสร้างและไม้สำหรับทำฟืนซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำซึ่งเมื่อตัดไม้ใช้แล้วก็ปลูกทดแทนหมุนเวียนทันที " 
       
    3. การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง " ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืนซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนแบบธรรมชาติทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย " 
       
    4. ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจากสภาพป่าที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่างและคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดเป็นฝักเพื่อ ให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูกต่อไปจนถึงตีนเขา
       
    5. ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ หรือเหนืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ
       
    6. ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค
    7. ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูก และดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการดูแลฝังจิตสำนึกให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า
    8. ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า

ขั้นตอนการทำหม้อแปลง

ขั้นตอนการทำหม้อแปลง

1. กำหนดพิกัดของหม้อแปลง โดยในที่นี้กำหนดให้ ด้าน primary และ secondary เป็น 110/110 หรือ Ratio 1:1

2. คำนวณหาจำนวนรอบของการพันหม้อแปลง โดยกำหนดค่าMagnetic Flux Density (B) =1.20 T
และวัดขนาดของ bobbin เพื่อแทนค่าโดยการคำนวณดูได้ ที่นี่ 








3. พัน bobbin ด้วยกระดาษให้รอบ ดังรูป





4. เริ่มการพันหม้อแปลง โดยติดตั้ง bobbin กับเครื่องพันลวด โดยพันขดลวด ด้าน primary ก่อน โดยในที่นี้พันไป 340 รอบ



5. เมื่อเราพันด้าน Primary ครบตามจำนวนนรอบแล้ว ให้นำกระดาษมาพันรอบ Bobin อย่างน้อย 2 รอบ โดยเราจะ Tap การพันโดยพันขดลวดให้ยาวออกมาตามที่เราได้คำนวณ ค่าไว้คือ 265,302,312,330 และ 340 รอบตามลำดับ แล้วจึงพันกระดาษฉนวนอีกรอบ






6. นำหม้อแฟลงที่พันเสร็จไปใส่แผ่นเหล็ก E I แผ่นแรกให้ใส่แผ่นเหล็ก E ประกบกัน ต่อมาให้ใส่สลับ E กับ I ไปเรื่อย ๆ จนเต็ม ยึดหม้อแปลงด้วยโครงเหล็กและนอต ดังรูป













7. ตรวจสอบตัว E และ ตัว I ไม่ให้ซ้อนกัน และใช้ค้อนเคะให้แผ่นหล็กชิดกันมากที่สุด








8. นำหม้อแปลงไฟทดสอบฉนวน กับเครื่อง Mega Ohm Meter








9. นำหม้อแปลงมาอาบน้ำยาวานิช แล้วนำไปอบก้อเป็นอันเสร็จ













หม้อแปปลงไฟฟ้า 2

สาระสำคัญ
:::  หม้อแปลงไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ใช้แปลงแรงดันไฟฟ้าสลับ ให้มีขนาดแรงดันตามที่เราต้องการ  เรานำหม้อแปลงไฟฟ้าไปใช้ในงานหลายด้าน ทั้งในระบบการจ่ายไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่ใช้กันตามบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง วิทยุเทป หรือ อะแด๊ปเตอร์แปลงไฟเพื่อใช้ในงานต่างๆ  จึงนับว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับงานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  1. อธิบายความสำคัญของหม้อแปลงไฟฟ้าได้
  2. อธิบายหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าได้
  3. สามารถแบ่งประเภทและเปรียบเทียบหม้อแปลงชนิดต่างๆได้ถูกต้อง
  4. อธิบายโครงสร้างของหม้อแปลงได้ถูกต้อง
  5. คำนวณค่าต่างๆในวงจรหม้อแปลงได้ถูกต้อง
  6. สามารถตรวจสอบขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้าได้
หลักการทำงาน
ในระบบจ่ายไฟฟ้าจะมีการแปลงแรงดันไฟฟ้าสลับให้มีขนาดสูงมากๆ เช่นให้มีขนาดเป็น 48kV หรือ 24kV เพื่อลดขนาดของลวดตัวนำ ที่ต้องใช้ในการจ่ายไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ  เมื่อถึงปลายทางก่อนที่จะจ่ายไฟฟ้าไปให้แก่บ้านเรือนต่างๆ ก็จะแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าให้ลดลงเป็น 220 V  เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า และเมื่อต้องการใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ระดับแรงดันต่ำๆ เช่น 6V หรือ 9V ก็จะต้องมีการแปลงดันไฟฟ้า ตามบ้านจาก 220 V เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าตามที่ต้องการ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เราเรียกว่า หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) 
การทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้านั้น อาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับเส้นแรงแม่เหล็กในการสร้างแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำให้กับตัวนำ คือ เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดตัวนำ ก็จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆตัวนำนั้น และถ้ากระแสที่ป้อนมีขนาดและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปมา ก็จะทำให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  ถ้าสนามแม่เหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตัดผ่านตัวนำ ก็จะเกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นที่ตัวนำนั้น โดยขนาดของแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำจะสัมพันธ์กับ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก และความเร็วในการตัดผ่านตัวนำของสนามแม่เหล็ก
พิจารณาจากรูป จะเห็นว่าโครงสร้างของหม้อแปลงจะประกอบ ไปด้วย ขดลวด 2 ขดพันรอบแกนที่เป็นสื่อกลางของเส้นแรงแม่เหล็ก ซึ่งอาจเป็นแกนเหล็ก แกนเฟอไรท์ หรือแกนอากาศ  ขดลวดที่เราจ่ายไฟเข้าไปเราเรียกว่า ขดปฐมภูมิ  (Primary Winding) และ ขดลวดอีกขดที่ต่อเข้ากับโหลด เราเรียกว่า ขดทุติยภูมิ (Secondary Winding)
เมื่อเราจ่ายกระแสไฟฟ้าสลับให้กับขดปฐมภูมิ ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงไป-มา โดยเส้นแรงแม่เหล็กดังกล่าวก็จะวิ่งไป-มา ตามแกน และไปตัดกับขดทุติยภูมิ ทำให้เกิดแรงดันเหนี่ยวนำขึ้นที่ขดทุติยภูมิที่ต่อกับโหลด โดยแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้น จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและจำนวนรอบของขดลวด
จากสมการ(4)จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้าทางขดทุติยภูมิ จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนจำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ และขดปฐมภูมิ โดยถ้าเราพันขดลวดทุติยภูมิ ให้มีจำนวนรอบมากกว่าขดปฐมภูมิ แรงดันไฟฟ้าขาออกทางขดทุติยภูมิ ก็จะสูงกว่าแรงดันไฟฟ้า ที่จ่ายเข้ามาทางขดปฐมภูมิ เราเรียกว่าเป็น หม้อแปลงชนิดแปลงแรงดันขึ้น (Step Up Transformer)   แต่ถ้าเราพันขดทุติยภูมิ ให้มีจำนวนรอบน้อยกว่าขดปฐมภูมิ    แรงดันไฟฟ้าทางขดทุติยภูมิก็จะต่ำกว่าแรงดันที่จ่ายเข้ามาทางขดปฐมภูมิ เราเรียกว่าเป็น หม้อแปลงชนิดแปลงแรงดันลงขึ้น (Step Down Transformer)
จากสมการ (5) เราสามารถตีความหมายได้ดังนี้ คือ
  1. ถ้าโหลดมีการดึงกระแสทางขดทุติยภูมิมากขึ้น กระแสไฟฟ้าทางขดปฐมภูมิก็จะสูงขึ้นด้วย
  2. ในกรณีเป็นหม้อแปลงชนิดแปลงขึ้น คือ Ns > Np กระแสทางขดทุติยภูมิ(Is) ก็จะน้อยกว่าค่ากระแสทางขดปฐมภูมิ(Ip) ซึ่งหมายถึง ขนาดของลวดที่ใช้พันขดทุติยภูมิจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดของขดปฐมภูมิ
  3. แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงชนิดแปลงลง คือ Ns < Np ค่าของกระแสทางขดทุติยภูมิ(Is) ก็จะสูงกว่ากระแสทางขดปฐมภูมิ(Ip) ซึ่งหมายถึง ขนาดของลวดที่ใช้พันขดทุติยภูมิจะมีขนาดใหญ่กว่า ขนาดของขดปฐมภูมิ
หม้อแปลงชนิดต่าง
เราสามารถแบ่งชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า ตามแกนของหม้อแปลงได้ 3 แบบ คือ
    1. หม้อแปลงชนิด แกนเหล็ก (Iron Core Transformer) หม้อแปลงแบบนี้จะใช้ แผ่นเหล็กอ่อนหลายๆแผ่นส่วนใหญ่จะใช้รูปทรงตัว E กับ ตัว I ประกอบกันเป็นแกนซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในงานทั่วไปที่มีความถี่ไม่สูงนัก เช่นหมัอแปลงในงานส่งกำลังไฟฟ้า หรือหม้อแปลงแปลง แรงดันไฟฟ้าตามบ้าน เป็นแรงดันต่ำๆตามที่ต้องการ หม้อแปลงชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
2. หม้อแปลงชนิดแกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core Transformer) หม้อแปลงชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในงานที่มีความถี่สูง เช่นในเครื่องรับ เครื่องส่ง วิทยุ หรือในวงจรสวิตชิ่ง เพราะไม่สามารถใช้หม้อแปลงชนิดแกนเหล็กได้
3. หม้อแปลงชนิดแกนอากาศ (Air Core Transformer) หม้อแปลงชนิดนี้จะใช้ในงานความถี่สูงมากๆ เช่นในเครื่องรับ เครื่องส่งวิทยุ ความถี่สูง เพราะไม่สามารถใช้หม้อแปลงชนิดอื่นได้เนื่องจากจะเกิดความสูญเสียอย่างมาก
โครงสร้างของหม้อแปลง
โครงสร้างภายในของหม้อแปลงจะประกอบด้วยขดลวดจะพันรอบฟอร์มพลาสติก โดยมีกระดาษฉนวนกั้นระหว่างแต่ละขดที่พัน และมีแกนเหล็กแผ่นบางๆที่เคลือบด้วยแล็กเกอร์ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นลักษณะคล้ายตัว E และอีกส่วนจะมีลักษณะคล้ายตัว I สวมสลับกันบนฟอร์ม ที่ต้องใช้แกนที่เป็นแผ่นเหล็กอ่อนแทนที่จะใช้เป็นเหล็กตัน ก็เพื่อลดปัญหาของกระแสไหลวน(Eddy Current) ในแกนเหล็กซึ่งจะเป็นตัวลดประสิทธิภาพของหม้อแปลง
การคำนวณค่าในวงจรหม้อแปลง
การคำนวณค่าในวงจรหม้อแปลง จะอาศัยความสัมพันธ์ตามสมการต่างๆดังกล่าวข้างต้น  เราจะลองมาคำนวณค่าในวงจรหม้อแปลง โดยอาศัยสมการดังกล่าว
การตรวจสอบขั้วหม้อแปลง
หม้อแปลงไฟฟ้านอกจากจะใช้ประโยชน์ในการแปลงแรงดันไฟฟ้าแล้ว ยังใช้ในการสลับเฟสสัญญาณเพื่อใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆด้วย ลักษณะของแรงดันขาออกจะกลับเฟส กับสัญญาณขาเข้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับต่อขั้วของหม้อแปลง โดยจะใช้จุดเป็นตัวบ่งขั้วหม้อแปลง ว่าเป็นด้านหัวสายหรือปลายสาย และสามารถใช้ต่อให้สัญญาณขาออก (Output Signal) มีลักษณะกลับเฟส (Out of Phase) หรือ ตามเฟส (In Phase) กับสัญญาณขาเข้า (Input Signal)
ซึ่งเราสามารถหาขั้วสายด้านหัวและด้านปลายอย่างง่าย โดยการใช้มิเตอร์ดังรูป
โดยใช้มิเตอร์ตั้งย่านวัด DC Volts ต่อที่ขดทุติยภูมิ  แล้วนำแบตเตอรี่มาเขี่ยที่ขดปฐมภูมิ ถ้าเข็มของมิเตอร์ตีขึ้น แสดงว่า เป็นขั้วแบบเฟสเดียวกันดังรูป โดยปลายสายด้านทุติยภูมิของหม้อแปลงที่ต่อกับขั้วบวกของมิเตอร์ และปลายสายด้านปฐมภูมิ ที่ต่อกับขั้วบวกของแบตเตอรี่ จะเป็นขั้วที่มีเฟส ตรงกัน สามารถกำหนดจุดที่ปลายสายทั้งสอง   แต่ถ้าเข็มตีกลับ แสดงว่าขั้วจะเป็นตรงข้าม
อีกวิธีเป็นการวัดโดยใช้ไฟสลับ โดยต่อขั้วหม้อแปลงด้านหนึ่งเข้าด้วยกันแล้วใช้ แล้วป้อน แรงดันแหล่งจ่ายไฟสลับ เข้าที่ขั้วด้านขาเข้าของหม้อแปลง จากนั้นใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัด AC Volts ต่อวัดแรงดัน ดังรูป
ถ้าค่าแรงดันที่อ่านได้มีค่าสูงกว่าแรงดันทางขาเข้า โดยมีค่าเท่ากับผลรวมของแรงดันขาเข้าและแรงดันขาออก แสดงว่าขั้วที่ต่อมีลักษณะกลับขั้วกัน ตามรูป ก.
แต่ถ้าค่าแรงดันที่อ่านได้มีค่าต่ำกว่าแรงดันทางขาเข้า โดยมีค่าเท่ากับผลลบระหว่างแรงดันขาเข้าและแรงดันขาออก แสดงว่าขั้วที่ต่อ มีลักษณะตรงกัน ตามรูป ข.
ข้อควรระวังในการใช้งาน
  1. เลือกชนิดหม้อแปลงให้เหมาะสมกับความถี่ที่ใช้งาน
  2. การใช้งานหม้อแปลงควรคำนึงถึงอัตราการทนกำลังของหม้อแปลงด้วย มิฉะนั้นจะทำให้หม้อแปลงไหม้ได้ เนื่องจากมีกระแสไหลสูงเกินไป
  3. หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกับไฟสลับ จึงไม่ควรป้อนไฟตรงเข้าที่ขั้วหม้อแปลงเพราะอาจจะทำให้หม้อแปลงไหม้ได้
  4. ถ้าต่อใช้งานหม้อแปลงในลักษณะ ออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์ (Auto Transformer) ควรระวังถูกไฟฟ้าดูดด้วย เนื่องจากไม่มีการแยกการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟบ้าน เหมือนกับหม้อแปลงที่ใช้งานในลักษณะปกติ
  5. หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยสนามแม่เหล็ก ในขณะใช้งานจึงควรระวังไม่นำไปไกลอุปกรณ์ที่มีผลต่อสนามแม่เหล็ก เช่น แผ่นดิสก์ เทปเสียง หรือ จอภาพโทรทัศน์ 

โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า


โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    1
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
1.โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า
ท าไมจึงต้องศึกษาในเรื่องโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า ?
ส่วนประกอบหลักที่ส าคัญของหม้อแปล งไฟฟ้าจะมีอยู่ 3  ส่วน คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวน าและ
ฉนวน หม้อแปลงไฟฟ้าจะมีหลายประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะต่างๆ เช่น แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก
แบ่งตามลักษณะการใช้งาน หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องมือวัด
ผลลัพธ์
    1.  เมื่อนักเรียนได้ศึกษาโมดูลเรื่องโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้าแล้ว นักเรียนจะมีความรู้ ความ
เข้าใจในเรื่องส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้าและชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
     
วัตถุประสงค์
1.1 บอกส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้าได้ถูกต้อง
1.2 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งชนิดของแกนเหล็กได้ถูกต้อง
1.3 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ถูกต้อง
1.4 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามความถี่ที่ใช้งานได้ถูกต้อง
1.5 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามลักษณะการพันขดลวดได้ถูกต้อง
1.6 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้าได้ถูกต้องโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    2
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
บทน า
ส่วนประกอบหลักที่ส าคัญของหม้อแปล งไฟฟ้าจะมีอยู่ 3  ส่วน คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวน าและ
ฉนวน นอกจากนั้นจะเป็นส่วนประกอบย่อยจะขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ถ้าเป็นหม้อแปลงขนาดใหญ่ก็
จะมีส่วนประกอบย่อยมากขึ้น เช่น ถังบรรจุหม้อแปลงไฟฟ้า น้ ามันหม้อแปลงไฟฟ้า ฯลฯ  หม้อแปลงไฟฟ้า
จะมีหลายประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะต่างๆ เช่น แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก แบ่งตามลักษณะการใช้
งาน หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องมือวัด แบ่งตามความถี่การใช้งาน แบ่งตามลักษณะการพันและ
แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้า
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.1
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถบอกส่วนประกอบของหม้อแปลง
ไฟฟ้าได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.1 ส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กจะมีส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ประการ คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวน า และ
ฉนวน
-  แกนเหล็ก (Core)
หม้อแปลงทุกชนิดแกนเหล็กจะต้องท าด้วยแผ่นเหล็กบาง ๆ อัดเข้าด้วยกันเสมอเพื่อเป็น
วงจรแม่เหล็กและจะต้องเป็นเหล็กที่มีซิลิกอน (Silicon) สูง การที่แกนเหล็กท าด้วยแผ่นเหล็กบาง ๆ
ก็เพื่อลดกระแสไหลวน ( Eddy current)โดยแผ่นเหล็กบางๆแต่ละแผ่นที่อัดติดกันนั้น อาจจะ
คั่นกลางด้วยวานิชบางๆหรือคั่นด้วยชั้นของออกไซด์ที่ผิวหน้าของแต่ละแผ่น โดยเรียก แกนเหล็กนี้
ว่า แกนเหล็กลามิเนท ดังรูปที่ 1.1
แผ่นโลหะแต่ละแผ่นจะหนาตั้งแต่ 0.35 มม. ส าหรับระบบไฟฟ้าความถี่ 50 เฮิทซ์ และหนา
0.5 มม. ส าหรับ 25 เฮิทซ์ติดกัน
รูปที่ 1.1 ลักษณะแผ่นเหล็กบางที่เรียงซ้อนกันโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    3
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
- ขดลวดตัวน า (Coil or Winding)
โดยทั่วไปแล้วหม้อแปลงไฟฟ้าแบบธรรมดา หรือหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด ( Ordinary
Transformer)    นั้นจะประกอบด้วยขดลวด  2  ชุด ขดลวดด้านที่รับพลังงานเข้ามาหาตัวมัน เรียกว่า
ขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding)และขดลวดที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าออกไปยังโหลดเรียกว่า ขดลวด
ทุติยภูมิ (Secondary Winding) ซึ่งลวดตัวน าที่น ามาพันหม้อแปลงไฟฟ้านั้นจะเป็นลวดตัวน าหุ้ม
ฉนวน เช่นฉนวนอีนาเมล หรือชนิดที่เป็นเชือกหรือด้ายพันรอบๆเส้นลวด ซึ่งลวดชนิดนี้จะใช้
ส าหรับตัวน าเส้นโตส าหรับหม้อไฟฟ้าที่เป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ฉนวนที่หุ้มหรือเคลือบตัวน านั้น
อาจจะมีหลายชั้นทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นฉนวนที่ดี ทนต่อความร้อนสูง ทนต่อการกัดกร่อน ซึ่งจะ
ส่งท าให้มีอายุการใช้งานนาน
รูปที่ 1.2 ขดลวดที่พันบนฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้า
-  ฉนวน (Insulator)
 ฉนวนที่ใช้ในหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กนั้นจะประกอบด้วยฉนวนที่ใช้ส าหรับคั่นระหว่าง
แกนเหล็กกับขดลวดขงหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งอาจจะเป็นกระดาษแข็งแบบธรรมดา กระดาษไฟเบอร์
หรือฉนวนอย่างอื่น เช่น ฉนวนเบกาไรด์ ( Bekarite) ซึ่งจะมีความแข็งแรงทนทาน ทนความร้อนได้
สูง และเป็นไฟฟ้าฉนวนไฟฟ้าได้อย่างดี นอกจากนั้นก็เป็นแผ่นฉนวนที่ขั้นระหว่างขั้นของขดลวด
ซึงอาจจะใช้กระดาษลอกลายมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคั่นระหว่างชั้นของขดลวด เพื่อกั้นไม่ให้
ขดลวดแต่ละชั้นสัมผัสกัน
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.2
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งชนิด
ของแกนเหล็กได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.2 ชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก
เราสามารถจ าแนกประเภทของแกนเหล็กออกเป็น 3  ชนิด คือโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    4
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
- แกนเหล็กแบบคอร์ (Core type) จะมีลักษณะเป็นรูปตัว  L – L หรือ U – I ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่ง
เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะมีลักษณะเป็นวงจรแม่เหล็กวงจรเดียวหรือวงจรเดี่ยว หรือวงจรแบบอนุกรม
ขดลวดด้านปฐมภูมิและด้านทุติยภูมิจะถูกพันอยู่บนแกนทั้งสองด้านแยกกันอยู่คนละข้าง แกนเหล็กแบบ
คอร์จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
รูปที่ 1.3 ลักษณะต่างๆของแกนเหล็กแบบคอร์
 ก. แกนเหล็กแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นจะมีขนาดเท่ากัน เมื่อประกอบเข้าด้วยกันจะมี
ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งจะนิยมใช้หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กก าลังไม่สูงมาก
ข้อเสีย คือ จะท าให้เส้นแรงแม่เหล็กรั่วไหล ( Leakage Flux) มาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการท างานของหม้อแปลง
ไฟฟ้า แต่อาจสามารถแก้ไขได้โดยการพันขดลวดปฐมภูมิ และขดลวดทุติยภูมิอย่างละครึ่งแยกกันคนละข้าง
ข้อดี คือ สามารถสร้างหม้อแปลงไฟฟ้าให้มีขนาดแรงดันไฟฟ้าสูงๆได้ เพราะมีช่องหน้าต่างว่างในการพัน
ขดลวดไว้จ านวนมากรอบ
รูปที่ 1.4 (ก)แกนเหล็กและขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบคอร์
(ข) ภาพหน้าตัดเมื่อมองด้านข้างและด้านบน
รูปที่ 1.5 การพันขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละครึ่งบนแกนเหล็กข้างเดียวกันโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    5
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
 ข. แกนเหล็กแบบครูซิฟอร์ม ( Cruciform Type)ขนาดของแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นจะมีขนาดต่างกัน
เมื่อประกอบแกนเหล็กเข้าด้วยกัน แล้วพื้นที่หน้าตัดที่พันขดลวดจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส
แต่จะมีลักษณะเป็นขั้นๆซึ่งจะสามารถพันขดลวดที่มีลักษณะเป็นแบบทรงกระบอกสวมลงไปได้ โดยมี
ช่องว่างระหว่างแกนเหล็กกับขดลวดน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้สามารถลดการสูญเสียและเพิ่มความแข็งแรง
ให้กับขดลวด แกนเหล็กชนิดนี้จะนิยมใช้กับหม้อแปลงที่มีขนาดก าลังไฟฟ้าสูงๆ
รูปที่ 1.6 แกนเหล็กแบบคอร์ชนิดครูซิฟอร์ม
- แกนเหล็กแบบเชลล์ (Shell Type) จะมีลักษณะแกนเป็นรูปตัว  E-I และ M แกนเหล็กชนิดนี้เมื่อ
ประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีวงจรแม่เหล็กแบบขนาน ขดลวดปฐมภูมิและขดลวด
ทุติยภูมิจะพันอยู่บนแกนกลางของแกนเหล็กและพันทับกันอยู่ โดยให้ขดลวดที่มีพิกัดแรงดันต่ าพันอยู่ด้าน
ในชิดแกนเหล็กและพันขดลวดด้านแรงสูงทับลงไปโดยมีฉนวนคั่นอยู่ แกนเหล็กแบบเชลล์จะแบ่งออกเป็น
2 ลักษณะ คือ
รูปที่ 1.7 ลักษณะต่างๆของแกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบเชลล์
ก. แกนแบบเดี่ยว จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เป็นรูปตัวอี-ไอ (E-I) หรือตัวเอ็ม (M) เมื่อประกอบ
เข้าด้วยกัน
ข. แกนเหล็กแบบกระจาย จะมีลักษณะเป็นวงจรแม่เหล็กกระจายล้อมรอบขดลวด ซึ่งพันอยู่บน
แกนกลาง โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    6
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
รูปที่1.8 แกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบเชลล์ชนิดแกนเดี่ยว
รูปที่ 1.9 แกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเชลล์แบบกระจาย
- แกนเหล็กแบบทอร์รอย (Toroid Type)จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆจานกลม เมื่อประกอบเข้า
ด้วยกันแล้วจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ขดลวดจะถูกพันรอบแกนเหล็กหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะมีค่าการ
สูญเสียต่ าและมีประสิทธิภาพสูงใช้แกนเหล็กน้อยเมื่อก าลังไฟฟ้าเท่ากัน
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.3
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
ลักษณะการใช้งานได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.3 ชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
- หม้อแปลงไฟฟ้าก าลัง (Power Transformer)
จะใช้ส าหรับการจ่ายก าลังไฟฟ้าและระบบสายส่ง ( Transformer Line) หม้อแปลงไฟฟ้า
ชนิดนี้จะมีคาก าลังไฟฟ้าในการใช้งานสูงที่สุด และแรงดันไฟฟ้าใช้งานนอย่างต่อเนื่อง ก็จะมีค่าสูงโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    7
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
ที่สุดด้วย การก าหนดพิกัดของหม้อแปลงไฟฟ้าจะเหมือนกับเครื่องจักรไฟสลับ คือจะก าหนดเป็น
โวลต์-แอมแปร์ (V-A)
- หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transformer)
จะมีหลายชนิดแต่งต่างกันอีกทั้งก็ใช้งานต่างกันด้วย บางครั้งจะพิจารณาหม้อแปลงไฟฟ้า
ชนิดนี้ว่าจะต้องมีขนาดไม่เกิน 100 V-A ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และมี
ค่าก าลังสูงๆ ก็จะเรียกว่าหม้อแปลงไฟฟ้าก าลัง (Electronic Power Transformer)
- หม้อแปลงไฟฟ้าเครื่องมือวัด (Instrument Transformer)
 หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะใช้ส าหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้าทั้งใน
วงจรไฟฟ้าก าลังและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ก าลัง เรียกว่า  หม้อแปลงไฟฟ้าความต่างศักย์ ( Potential
Transformer)และหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสไฟฟ้า (Current Transformer)  
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.4
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
ความถี่การใช้งานได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.4 หม้อแปลงที่แบ่งตามแบ่งตามความถี่การใช้งาน
- หม้อแปลงไฟฟ้าก าลัง
จะใช้ในงานที่มีความถี่คงที่ตามความถี่ของระบบไฟฟ้าก าลัง เช่นความถี่ 50 เฮิรตซ์ 60
เฮิรตซ์ หรือ 400 เฮิรตซ์ กับความถี่อื่นๆ
- หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับย่านความถี่เสียง
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ส าหรับงานสื่อสารที่มีย่านความถี่เสียง
- หม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูง
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ส าหรับย่านความถี่สูงมาก
-หม้อแปลงไฟฟ้าย่านความถี่กว้าง
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท างานในย่านความถี่กว้าง
- หม้อแปลงไฟฟ้าย่านความถี่ช่วงแคบ
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ออกแบบใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท างานในย่านความถี่
เฉพาะ
-หม้อแปลงไฟฟ้าสัญญาณพัลซ์โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    8
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
เป็นหม้อแปลงที่ออกแบบให้ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท างานในด้านไฟฟ้าก าลัง
หรืออิเล็กทรอนิกส์ก าลัง
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.5
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
การพันขดลวดได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.5 หม้อแปลงที่แบ่งตามการพันขดลวด
- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด (Ordinary Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด หมายถึงหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติย
ภูมิแยกออดจากกันโดยเด็ดขาด ไม่ต่อถึงกันทางไฟฟ้า ขดลวดทุติยภูมิอาจจะมีมากกว่า  1 ขด หรือ
หลายขด
รูปที่ 1.10 สัญลักษณ์ของหม้อแปลงแบบแยกขด
- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
หม้อแปลงไฟฟ้าอัตโนมัติ หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดเพียงชุดเดียว ขดลวดปฐม
ภูมิและขดลวดทุติยภูมิจะเป็นขดลวดชุดเดียวกัน มีทั้งชนิดแปลงขึ้น ( Step – up Transformer)และ
ชนิดแปลงลง (Step – down Transformer)
รูปที่ 1.11 สัญลักษณ์ของหม้อแปลงแบบอัตโนมัติโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    9
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.6
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
ชนิดของระบบไฟฟ้าได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.6 หม้อแปลงที่แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้า
- หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว (Single Phase Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ดังนั้นจึง
ประกอบด้วยขดลวดด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละหนึ่งชุด
รูปที่ 1.12 ลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบเฟสเดียว
- หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส (Three Phase Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้า  3  เฟส หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ระบบไฟฟ้า  3  เฟส ดังนั้น จึงมี
ขดลวดด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละ 3 ชุด พันอยู่บนแกนเหล็ก ขดลวด(Step – up Transformer)
ด้านปฐมภูมิหรือทุติยภูมิอาจต่อเข้าด้วยกันเป็นแบบวายหรือสตาร์หรืออาจจะต่อเข้าด้วยกันเป็น
เดลต้า ตามแต่กรณี
รูปที่ 1.13 แกนเล็กของหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส เบื้องต้นโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    10
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
หม้อแปลงไฟฟ้า 3  เฟสก็เหมือนกับหม้อแปลงเฟสเดียว คือมีทั้งแบบคอร์และแบบเชลล์
ลักษณะของแกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบง่ายๆ แกนเหล็กทั้ง  3 ขาท ามุมกัน 120 องศาส่วน
แกนกลางจะเป็นแกนต่อร่วมกัน เพื่อให้เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าแต่ละเฟส
เคลื่อนที่ครบวงจร  ถ้าขดลวดต่อกันแบบสตาร์ ชั่วขณะหนึ่งกระแส  I
1
+ I
2
+ I
3
= 0 ส้นแรงแม่เหล็ก
ก็จะมีค่าเป็นศูนย์ด้วย ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีขาของแกนเหล็กมาต่อร่วมกัน ดังรูป 1.14
รูปที่ 1.14 หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส
เมื่อแกนกลางออกแล้วการเกิดเส้นแรงแม่เหล็กจากขดลวดบนแกเหล็กเฟส หนึ่ง เมื่อ
เคลื่อนที่ไปแล้วจะอาศัยแกนอีกสองแกนให้มีลักษณะ ดังรูป 1.14 (ก)จะเป็นหม้อแปลงสามเฟสใน
แบบคอร์ ขดลวดจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลม ส่วนในรูปที่ 1.14 (ข)จะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า  3
เฟส แบบเชลล์
หม้อแปลงไฟฟ้า 3  เฟส แบบเชลล์ออาจจะน าหม้อแปลงไฟฟ้า  1  เฟสแบบคอร์ 3  ตัวมา
ประกอบเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า  3  เฟสแบบเชลล์ ก็ได้ และ
ระหว่างเฟสที่ 2 และ 3  วงจรแม่เหล้กของหม้อแปลงไฟฟ้า
แบบนี้จะเกิดอสระมากกว่าแบบคอร์
หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด  3  เฟส ถ้าเฟสใดของหม้อ
แปลงไฟฟ้าใช้ไม่ได้จะต้องยกหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งตัวลงเพื่อ
น าไปซ่อม แต่ถ้าน าเอาหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส  3 ตัวมาต่อ
กันเป็นหม้อแปลง 3  เฟส ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่ง
ช ารุดเสียหาย หม้อแปลงไฟฟ้าอีกสองตัวที่เหลือยังท างาน
แบบเดลต้าเปิด ( open delta)ได้ เพียงแต่ไม่สามารถจ่าย
พลังงานได้สูงเหมือนตอนแรกเท่านั้น และสามารถยกหม้อ
แปลงตัวที่ช ารุด ลงไปซ่อมเพียงตัวเดียว แล้วน าเอาตัวที่ใช้
งานได้ขึ้นไปติดตั้งแทน
รูปที่ 1.15 วงจรแม่เหล็กหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส

การเพ้นเสื้อ


ต่อไปนี้คือการเพ้นท์เสื้อแบบง่ายๆ ที่ใครๆก็สามารถทำได้เองค่ะ
ก่อนอื่นเราก็ดราฟรูปจากต้นฉบับ โดยใช้โปรแกรมกราฟิค illustrator จากนั้น print ออกมา
จากนั้นก็นำเสื้อยืดมาขึงกับกระดาน หนีบทั้งสี่มุมให้ตึงพอประมาณ
และนำสก๊อตเทปมาแปะรูปกับเสื้อให้ติดกัน ไม่ให้ขยับ เอาล่ะ...ขั้นต่อไป
เราก็นำกระดาษลอกลายผ้ามาสอดไว้ใต้รูปเพื่อทำการกอปปี้ลงเสื้อ ในที่นี้เสื้อเป็นสีดำ
เพราะฉะนั้นกระดาษลอกลายต้องใช้สีขาวหรือเหลืองนะคะ เพื่อทุกอย่างพร้อม
ลงมือเอาปากกาเขียนลายด้วยการกดปากกาหนักๆ แต่ระวังทะลุนะคะ
นี่คือหน้าตาของกระดาษลอกลายผ้าค่ะ มีขายที่ตั้งฮั่วเสง ชั้น 3 ตรงแผนกขายผ้า ลูกไม้ ราคาซองละ 50 บาท มี 5 แผ่น
ส่วนมากมีสีแดง ฟ้า เขียว ขาว เหลือง
หลังจากลอกลายเสร็จแล้ว จะได้ lay out อย่างที่เห็น อ้อ..ลืมบอกไปว่าก่อนลอกลาย ต้องรองพื้นด้วยสีขาวก่อนจะดีกว่า
จะได้เห็นเส้นได้ชัดเจน และเวลาลงสี สีจะได้ไม่จมค่ะ เสื้อสีดำอาจจะทำให้ลำบาก เสียเวลา
ถ้าไม่อยากเสียเวลาก็ใช้เสื้อสีขาวหรือสีอ่อนๆ จะง่ายกว่าค่ะ
คงจะยังไม่เหนื่อยนะคะ ต่อเลย... เรามาย้ำลายเส้นกันอีกทีด้วยปากกาเขียนผ้า เพื่อความมั่นใจในการลงสี
นี่คืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการเพ้นท์ อันได้แก่ พู่กัน จานสี สีอคิลิค และน้ำยา textile medium ใช้แทนน้ำ
เพื่อการไม่เลอะซึม และคงความสดใสของสี
ว่าแล้วก็ลงมือละเลงสีได้เลย ในที่นี้เราลงสีแดงที่รูปหัวใจ สีไม่จมเพราะเรารองพื้นด้วยสีขาวแล้ว ระบายได้อย่างสบายใจ
ช่วงเวลานี้แหละที่สนุก เพลิดเพลิน และมีสมาธิ ใจจดจ่อกับงานที่ทำ ถ้าอยากจะลืมใครบางคน งานนี้เหมาะเลย ลืมแน่ๆ
ใครอย่าได้โทรมาตอนนี้เชียวนะ ขัดใจชมัด 555555555555 ^ ^
ต่อไป ใช้สีเหลืองในการทาที่ขอบหัวใจ เนื่องจากเสื้อเป็นสีดำ เราจึงสมควรใช้สีที่เจ็บแสบมากๆ ก็อย่างที่เห็น
สีแดงกะเหลือง ตัดกันอย่างเมามัน สะใจช่างเพ้นท์ซะไม่มี
มาที่่กางเกง ตัดสินใจใช้สีฟ้า แข่งกะสีแดงนี่แหละ แหมๆ แหร่มไปเลย มีตรงส่วนใบหน้านี่แหละที่ต้องพิถีพิถันหน่อย
อันนี้ก็คงต้องใช้ฝีมือส่วนตัวใครตัวมันกันเองนะ
ในที่สุดงานก็เสร็จ ถ้าจำไม่ผิดงานนี้ใช้เวลาวันเดียวก็เสร็จค่ะ เทียบกับรูปจริงแล้ว ถึงไม่เหมือนมากก็ใกล้เคียงนะเออ
ท่านผู้ชมท่านใดมีความสนใจงานศิลปะแบบนี้ เข้ามาคุยหรือขอคำปรึกษาได้ค่ะ ยินดีให้คำตอบเท่าที่รู้ค่ะ

กำเนิดโครงการหลวง

กำเนิดโครงการหลวง
         วันที่  ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๒  เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้เสด็จไปถึงหมู่บ้านชาวเขา  จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรก
          การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น  ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นหมูที่ชาวเขาเลี้ยงไว้ทั้งมีขนาดเล็กและพุงลากดิน ซึ่งได้ทรงรับทราบว่าหมูเหล่านี้ไม่โตไปกว่านี้อีกแล้วและต้องใช้เวลานานกว่าที่จะเลี้ยงได้ตัวขนาดนี้เนื่องจากทรงเห็นว่าหมูมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของชาวเขาโดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรม
         ประเพณีอันสืบเนื่องต่อกันมาจวบจนถึงปัจจุบัน  อาทิ  พิธีการแต่งงาน  การเลี้ยงผีในยามเจ็บไข้ฯ  จึงได้ทรงพระราชทานลูกหมูตัวผู้พันธุ์ดีจำนวน  ๓  ตัว  พร้อมพันธุ์พืชอาหารสัตว์เพื่อเพาะปลูกให้แก่ชาวเขา 
ได้แก่  มันสำปะหลัง  และอื่นๆ
 
          จึงนับได้ว่าวันที่  ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๒  เป็นวันแห่งการเริ่มต้นการทรงงานทางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงภาคเหนือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพื้นที่ต่างๆ  ของจังหวัดภาคเหนือก็ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นชาวเขามีวิถีการดำรงชีพที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างไม่เปลี่ยนแปลงนับพันปี  คือการเร่ร่อนไปอาศัยตามเทือกเขาสูงและอยู่ห่างไกลจากสังคมเมือง  ซึ่งถึงแม้ว่าวิถีการดำรงชีพของเขาเหล่านั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติก็ตาม  แต่กลับไม่เป็นผลดีทั้งต่อตัวของชาวเขาเองและภูมิภาคอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย  ชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน  ทำการเกษตรแบบยังชีพ  สุขภาพอนามัยและการศึกษาถูกละเลยขาดความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน  น้ำ  และป่าไม้  ทำให้ชาวเขาใช้วิธีถากถาง  ตัดโค่นทำลายป่าไม้และเผาป่า  ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสายในภาคเหนือที่หล่อเลี้ยงชีวิตและการเกษตรกรรมของผู้คนในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางทั้งนี้ก็เพื่อทำไร่เลื่อนลอยและเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ  อันเป็นเหตุสำคัญที่จะนำความเสียหาย  ความแห้งแล้งไปสู่ส่วนอื่น  ของประเทศ  เพียงเพราะชาวเขาต้องการพื้นที่สำหรับปลูกพืชไร่ต่างๆ  และที่สำคัญคือการปลูกฝิ่น  ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของชาวเขาซึ่งเป็นยาเสพติดที่มอมเมา  และเป็นตัวบ่อนทำลายเยาวชนของชาติอันเป็นปัญหาที่ร้ายแรงของประเทศและของโลกที่ยากต่อการเข้าไปควบคุม  และยากต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเขาเหล่านั้น  ด้วยชาวเขาทั้งหลายนั้นมิได้รับรู้ถึงความเป็นชาติไทยเป็นคนไทย  และกฎหมายบ้านเมืองของประเทศที่ตนอาศัยอยู่นั่นเอง
          นอกจากนี้ก็ได้ทรงทราบว่าชาวเขามีรายได้จากการจำหน่ายท้อพันธุ์พื้นเมืองส่วนหนึ่ง  กับรายได้จากการปลูกฝิ่นและเมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นท้อพันธุ์พื้นเมืองมีผลขนาดเล็กก็ทรงมีพระราชดำริให้หาวิธีการติดตาต่อกิ่งกับท้อต่างประเทศพันธุ์ใหม่ๆ  ที่จะให้ได้ผลขนาดใหญ่  รสชาติหวานฉ่ำเพื่อจะได้มีรายได้ที่สูงไม่แพ้ฝิ่น
          หม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี  องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้ทรงบันทึกเรื่องลูกท้อไว้ในหนังสือ  “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง”  ว่า
          “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้วดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์  และได้ทอดพระเนตรต้นท้อ  (peach)  ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับต้นตอพื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อนและมีรับสั่งถามเจ้าของว่าปลูกฝิ่นได้เงินเท่าไร  และเก็บท้อพื้นเมือง  (ลูกเล็ก)  ขายได้กี่บาท  ก็ทรงทราบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำเงินให้เกษตรกรเท่าๆ กัน
 แต่คนอื่นเขาคิดกันอย่างไร
          เขาคิดว่า  ฝิ่นทำให้ผู้ปลูกรวยอย่างมหาศาล  จึงเอาอย่างชาวต่างประเทศ  เรียกบริเวณที่ปลูกว่า  “สามเหลี่ยมทองคำ”  ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดและหาพืชอื่นปลูกแทนฝิ่นก็ยังใช้ชื่อนี้อยู่  ทำให้ผู้ที่ใช้ความคิดเพียงนิดหน่อยแน่ใจว่าไม่มีอะไรจะแทนฝิ่นได้
          ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดว่า  ถ้าท้อลูกนิดๆ  ยังทำเงินให้เกษตรกรได้ดีเท่าฝิ่นแล้วเราก็ควรจะเปลี่ยนยอดให้ออกลูกมาเป็นท้อใหญ่ๆ  หวานฉ่ำ  สีชมพูเรื่อดังกับแก้มสาวในนิทานจีน  เมื่อรายได้จากท้อและผลไม้อื่นสูงกว่าฝิ่นแล้ว  ฝิ่นก็จะสาบสูญไปเองตามธรรมชาติ  ไม้ต้องใช้กำลังผลักดันแต่อย่างใด”
          จากที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงสภาพความเป็นจริงและทรงเข้าพระราชหฤทัยในปัญหาความทุกข์ยากของราษฎร  จึงทรงโปรดเกล้าฯ  ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์เมื่อปี  ๒๕๑๒  โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากราษฎร  รัฐบาลไทย  และรัฐบาลต่างประเทศร่วมกัน  โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชาวเขาไทยภูเขาขององค์การสหประชาชาติ  โดยในระยะเริ่มแรกนั้นมีหม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี  เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการหลวง  และได้ตั้งเป้าหมายของโครงการไว้  ดังนี้
         ๑. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
         ๒. ช่วยชาวเขาโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ  คือ  ต้นน้ำลำธาร
         ๓. กำจัดการปลูกฝิ่น
         ๔. รักษาดินและใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง  คือให้ป่าอยู่ในส่วนที่ควรเป็นป่า  และทำไร่สวนในส่วนที่ควรเพาะปลูก  อย่าให้ส่วนทั้งสองนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน
         ๕. ผลิตพืชผลเพื่อเพิ่มประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ
 มาบัดนี้  “มูลนิธิโครงการหลวง”  ได้ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่  ๕  จังหวัด  ทางภาคเหนือ  ได้แก่  จังหวัดเชียงใหม่  เชียงราย  ลำพูน  แม่ฮ่องสอน  และพะเยา  ซึ่งประกอบด้วยสถานีวิจัย  ๔  แห่ง  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ๓๔  แห่ง  และมีหมู่บ้านชาวเขาในความดูแลส่งเสริม  ๒๙๕  หมู่บ้าน  ประชากรเป้าหมายทั้งคนไทยและชาวเขารวม  ๑๔,๑๐๙  ครอบครัว  คิดเป็นจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น  ๗๓,๔๒๕  คน
         ทั้งนี้ “มูลนิธิโครงการหลวง”  ได้ดำเนินการสนองตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ  “ช่วยชาวเขาให้ช่วยตนเองในการปลูกพืชที่มีประโยชน์และมีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น”  และได้แบ่งงานเป็น  ๓  ลักษณะ  ดังนี้
         ๑. งานวิจัย
         ๒. งานพัฒนา
         ๓. งานการตลาด
งานวิจัย
          ในระยะแรกที่มูลนิธิโครงการหลวงเริ่มดำเนินงานนั้น  สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชเมืองหนาวในประเทศไทยยังมีอยู่น้อยมาก  มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้ดำเนินงานด้านการทดลองค้นคว้า  และสนับสนุนการวิจัยพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ  โดยได้พัฒนาและเผยแพร่ผลของการศึกษาวิจัยให้แก่เกษตรกรในโครงการหลวงนำไปเพาะปลูก  ทั้งนี้  โดยมุ่งเน้นเพื่อสนองความต้องการของตลาดทดแทนการปลูกฝิ่น  และปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงมีสถานีวิจัยหลัก  ๔  สถานี  คือ
         ๑.  สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่
                  เป็นสถานีวิจัยแห่งแรก  และดำเนินงานการวิจัยไม้ผลเมืองหนาว  ผักเมืองหนาว  พืชไร่  ไม้โตเร็ว  ไผ่ชนิดต่างๆ  และด้านป่าไม้  รวมทั้งเป็นสถานที่ฝึกอบรมและขยายพันธุ์
         ๒.  สถานีเกษตรหลวงปางดะ  อำเภอสะเมิง  จังหวัดเชียงใหม่
                   ดำเนินงานการวิจัยไม้ผลเมืองหนาว  ผักเมืองหนาว  ไม้ดอกเมืองหนาว ถั่วชนิดต่างๆ และงานวิจัยด้านป่าไม้
         ๓.  สถานีโครงการหลวงอินทนนท์  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่
                  ดำเนินงานการวิจัยไม้ดอกเมืองหนาว  และที่สถานีย่อยขุนห้วยแห้งได้ทดลองปลูกไม้ผล  ทับทิม  มะเดื่อหวาน  ฝรั่งคั้นน้ำ  และองุ่นไม่มีเมล็ด ฯ
         ๔.  ศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟอราบิก้า  แม่หลอด  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
                  ดำเนินการวิจัยหาสายพันธุ์กาแฟอราบิก้าที่ปลอดโรคราสนิม
ผลงานการวิจัย          ที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้แก่เกษตรกรแล้ว  คือ
ผลไม้เมืองหนาว          :  บ๊วย  พลัม  ท้อ  สาลี่  พลับ  กีวี  สตรอเบอรี่  ฝรั่งคั้นน้ำ  และองุ่นไม่มีเมล็ด
ผักเมืองหนาว          :  ประมาณ  ๕๐  ชนิด  เช่น  เซเลอรี่  เทอร์นิพ  ผักกาดต่างๆ  ซุกินี  กระเทียมต้น  และหอม ญี่ปุ่น   เป็นต้น
ดอกไม้เมืองหนาว          :  ประมาณ  ๒๐  ชนิด  เช่น  เบญจมาศ  จิปโซฟิลล่า  เยอร์บีร่าพันธุ์ยุโรป  แกลดิโอลัส  ลิลี่   คาร์เนชั่นและอัลสโตรมีเรีย  เป็นต้น 
พืชไร่ต่างๆ          :  เช่น  มันฝรั่ง  ถั่วแดงหลวงลินิน  บัควีท  และข้าวสาลี  เป็นต้นอื่นๆ 
          :  กาแฟอราบิก้า  เห็ดหอม  และการวิจัยและพัฒนาดอกไม้แห้งเพื่อการค้า
งานพัฒนา ประกอบด้วยกลุ่มงานต่างๆ  ดังนี้
          ๑.  กลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
          มูลนิธิโครงการหลวงได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขึ้น  จำนวน  ๓๔  แห่งเพื่อนำประโยชน์จากการวิจัยไปสู่ชาวเขา  ซึ่งครอบคลุมพื้นที่  ๕  จังหวัด  ๒๐  อำเภอ  คือ
จังหวัดเชียงใหม่         ๑.๑  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  อ่างขาง  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  อินทนนท์  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๓  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ปางดะ  อำเภอสะเมิง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๔  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  แม่หลอด  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๕  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ขุนวาง  กิ่งอำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๖  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  แกน้อย  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๗  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ห้วยลึก  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๘  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  หนองเขียว  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๙  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  แม่สาใหม่  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๐  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  หนองหอย  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๑  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ป่าเมี่ยง  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๒  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  ตีนตก   กิ่งอำเภอแม่ออน  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๓  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ  กิ่งอำเภอแม่ออน  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๔  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ  อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๕  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก  กิ่งอำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๖  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง  กิ่งอำเภอแม่วาง  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๗  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ   กิ่งอำเภอแม่วาง  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๘  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๑๙  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒๐  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒๑  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม  อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒๒  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง   อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒๓  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา   อำเภอสะเมิง  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒๔  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว  อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๒๕  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยผักไผ่  อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงราย         ๑.๒๖  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ   อำเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงราย
         ๑.๒๗  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง  อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย
         ๑.๒๘  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน  อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย
         ๑.๒๙  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง  อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย และอำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่
         ๑.๓๐  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น  อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย
จังหวัดลำพูน         ๑.๓๑  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน
จังหวัดแม่ฮ่องสอน         ๑.๓๒  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย  อำเภอแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน
         ๑.๓๓  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง  อำเภอแม่สะเรียง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดพะเยา         ๑.๓๔  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า  อำเภอปง  จังหวัดพะเยา
 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง  มีหน้าที่สำคัญ  คือ          -  ส่งเสริมให้เกษตรกรในหมู่บ้านใกล้เคียงมีรายได้จากการปลูกพืชชนิดต่างๆ  จากผลงานวิจัยรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมงด้วย
          -  พัฒนาปัจจัยพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของชาวเขาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น
          -  สนับสนุนงานทดสอบ  สาธิต  วิจัย  และผลิตพันธุ์พืชและสัตว์
          -  อนุรักษ์  ฟื้นฟู  ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยกำหนดขอบเขตอย่างแน่ชัดว่าที่ใดควรเป็นป่า  และที่ใดควรใช้เพาะปลูกและการปลูกป่าจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของไม้สำหรับพื้นที่การเกษตรได้พิจารณาถึงปัจจัยประการสำคัญคือ  ความลาดชันหน้าดิน  และน้ำชลประทานโดยดำเนินงานบริรักษ์ที่ดินเพื่อกันหน้าดินทลายด้วยการทำขั้นบันได  ทางระบายน้ำตามแนวระดับหรือปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับ  เป็นต้น
๒. กลุ่มงานอารักขาพืช         มูลนิธิโครงการหลวงมีนโยบายไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช  กรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ  เท่านั้นจึงจะใช้  และดังนั้น  จึงมีงานป้องกันและกำจัดศัตรูพืชพร้อมทั้งห้องปฏิบัติการเพื่อควบคุมการใช้สารเคมีที่นำมาใช้งานสำคัญก็คือ  การส่งเจ้าหน้าที่ด้านแมลงและโรคพืชไปตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆ  เสมอ  เมื่อศูนย์ฯ  ใดประสบปัญหาก็จะส่งตัวอย่างพืชที่มีปัญหานั้นให้กับเจ้าหน้าที่ของงานป้องกันและกำจัดศัตรูพืช  เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและวิธีการกำจัดรักษาที่ถูกต้องหากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  เจ้าหน้าที่ต้องควบคุมให้มีการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและระมัดระวัง
๓. กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมการผลิต  มีหน้าที่สำคัญคือ
         -  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
         -  กำหนดเป้าหมายวางแผนประมาณการ  ติดตามและประเมินผลการผลิต
         -  สนับสนุนและประสานความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและฝ่ายต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง
         -  จัดทำแผนงาน  งบประมาณ  และรายงานผลการดำเนินงานประจำปีต่อคณะอนุกรรมการฝ่ายพัฒนา
๔. กลุ่มงานพัฒนาการศึกษาและสังคม  สาธารณสุข
         ได้ดำเนินงานพัฒนาสังคมของชาวเขาที่เกี่ยวกับเด็ก  แม่บ้าน  พ่อบ้าน  และชุมชนชาวเขา  ด้านต่างๆ  โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนรวมทั้งชาวเขาเองดังนี้
         -  งานพัฒนาการศึกษาและสังคม  เพื่อให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้มาตรฐานทางด้านการศึกษาด้วยการจัดตั้งโรงเรียน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  บริการห้องสมุดเคลื่อนที่  จัดตั้งห้องสมุดโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรักการอ่าน  และจัดทำโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนต่างๆ  นอกจากนั้นยังมีการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำ  และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพแก่เยาวชน  สตรี  และกลุ่มแม่บ้าน  เช่น  การทอผ้าแบบดั้งเดิมและผลิตภัณฑ์ใหม่  ตลอดจนการทอผ้าลินิน  เป็นต้น
         -  งานพัฒนาสาธารณสุข  จะมีอาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์  พยาบาล  ทันตแพทย์และเภสัชกร  จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปเยี่ยมเยียนให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานอย่างสม่ำเสมอ
          นอกจากนี้  ได้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด  โดยใช้รูปแบบการบำบัดโดยชุมชนให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากที่สุด  โดยผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านควบคู่กับการดำเนินการของรัฐและเอกชน  เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและส่งผลสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
งานการตลาด

          จัดให้มีขึ้นเพื่อดำเนินงานสำหรับงานวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว  งานขนส่ง  งานคัดบรรจุ  งานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตของเกษตรกร  และงานวิจัยด้านการตลาด
         งานวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว  นับเป็นเรื่องสำคัญ  ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตเพื่อการส่งออกมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ  มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้มีห้องเย็นพิเศษบนดอยที่สามารถลดอุณหภูมิของผักลง  ๓  องศาเซลเซียสภายใน  ๓  ชั่วโมง
          การขนส่งผลผลิตต่างๆ  โดยใช้ห้องเย็นเพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ดีอยู่เสมอและมีหน่วยงานคัดบรรจุที่ทำหน้าที่เพื่อควบคุมคุณภาพ  ทั้งที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ 
          งานคัดบรรจุ  งานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์  มูลนิธิโครงการหลวงมีโรงงานอาหารสำเร็จรูป  จำนวน ๓  แห่ง  เพื่อรองรับผลผลิตและแปรรูปให้มีค่าสูงยิ่งขึ้น  คือ
         -  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
         -  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่
         -  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย
         งานวิจัยด้านการตลาดของผลผลิตชนิดต่างๆ  ของเกษตรกร  ได้มีการจำหน่ายผลผลิตออกสู่ตลาดและขายได้ในราคาที่เหมาะสม  โดยมูลนิธิโครงการหลวง  คิดค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมของราคาขายแต่ละครั้ง  ซึ่งมูลนิธิโครงการหลวง  มีหน่วยการตลาดทั้งที่กรุงเทพฯ  และเชียงใหม่  ภายใต้ชื่อจดทะเบียนการค้าว่า  “ดอยคำ”