วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สบู่

สบู่

สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น
สบู่ก้อน คือส่วนผสมระหว่างกรด (ไขมัน) กับเบส (ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 (ในเอกสารจดแจ้งของ อย.ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อนระบุว่ามีค่า ph ไม่เกิน 11) กรดหรือกรดไขมัน เช่นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เบส เช่นโซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือเมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมันอยู่ประมาณ 5% หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่า pH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย 15-30 วัน เพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
กรด (ไขมัน) และเบส (ด่าง) ที่นำมาทำสบู่ ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า 1 ชนิด ตามธรรมชาติกรดไขมันเหล่านี้จะไม่อยู่อิสระ แต่รวมตัวกับสารกลีเซอรอลในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะหลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ปฏิกิริยาของ กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น
คุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากกรดไขมันต่างชนิดกัน
1.             น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ผลิตได้มีเนื้อแข็ง กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมากเป็นครีม ให้ฟองที่คงทนพอควร เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวแห้ง
2.             น้ำมันปาล์ม ให้สบู่ที่แข็งเล็กน้อย มีฟองน้อย ฟองคงทนอยู่นาน มีคุณสมบัติในการชะล้างได้ดี แต่ทำให้ผิวแห้ง
3.             น้ำมันรำข้าว ให้วิตามินอีมาก ทำให้สบู่มีความชุ่มชื้น บำรุงผิว ช่วยลดความแห้งของผิว
4.             น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่เข้าได้ดีกับน้ำมันอื่น ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นหืนง่าย
5.             น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่ให้วิตามินอี และให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว
6.             น้ำมันมะกอก ทำให้ได้สบู่ที่แข็งพอสมควร ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
7.             น้ำมันละหุ่ง ช่วยทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สบู่เป็นเนื้อเดียวกันดี สบู่ไม่แตก ทำให้สบู่มีความนุ่มเนียน และช่วยให้ผิวนุ่ม
8.             น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้น แต่ฟองน้อย
9.             ไขมันวัว จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็งสีขาวอายุการใช้งานนานมีฟองน้อย ทนนาน แต่นุ่มนวล
10.      ไขมันหมู จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
11.      ขี้ผึ้ง ได้สบู่เนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
12.      ไขมันแพะ ได้สบู่เนื้อนุ่ม ได้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ผิวนุ่มเนียน
เบส (ด่าง) ที่ใช้มี 3 ชนิด คือ
1.             ขี้เถ้า ใช้ในการผลิตสบู่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้เป็นด่างแทน
2.             โซดาไฟ หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่ก้อนแข้ง
3.             โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่เหลว

ดอกอัญชัน
อัญชัน (อังกฤษ: Asian pigeonwings; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน (เหนือ)[1] เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2]ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็
การกระจายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา
สรรพคุณ
-ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
-เมล็ด เป็นยาระบาย
-ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “ สมุนไพรล้างพิษสารเคมี ”
คณะผู้จัดทำโครงงานได้ร่วมกันศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3. คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
4. รางจืด
5. สเลดพังพอนตัวเมีย
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจำหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิด
ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกำจัด คือ สารเคมีกำจัดแมลง
สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกำจัดหอยและปู เป็นต้น
1. สารเคมีกำจัดแมลง สารเคมีกำจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจานวนชนิดมากที่สุด คือ
สารเคมีกำจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ
1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ
สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อกซาฟีน
(toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮปตาครอ (heptachlor) เป็นต้น
สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุกชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า
ทำให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิดอาจตกค้างได้นานหลายสิบปี
ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้
ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ
โดยสารเคมีในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (malathion), พาร June, 2009#3604;อาซินอน (diazinon),
เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ
DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด
แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก
1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสาคัญ
โดยสารเคมีกำจัดแมลงที่รู้จักและใช้กันมาก คือ คาร์บาริว (carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin),
คาร์โบฟุแรน (carbofura), โพรพ็อกเซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb)
สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต
1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย
เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน
ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษต่อแมลงสูง
แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่า อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้
สารเคมีกาจัดแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน
(resmethrin), และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น
2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
พวกที่มีพิษทำลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษเฉพาะกลุ่มวัชพืช คือ ทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ
สารกำจัดวัชพืชที่มีพิษทำลายไม่เลือก คือ พาราควอท (paraquat) ส่วนที่มีพิษทำลายเฉพาะ คือ พวก แอทราซิน
(atrazine), 2,4-D, 2,4,5-T เป็นต้น
3. สารกำจัดเชื้อรา มีอยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก
กลุ่มสำคัญของสารกำจัดเชื้อราในการเกษตร (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546) ได้แก่
กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย
กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก
Metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์
กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท
กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง
ข้อกระดูกอักเสบ
กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทาให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว
4. สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) สารกำจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน
ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่าง เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค
ทำให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่า ลมพิษ ผมร่วง
อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาฆ่าแมลง"
นั้น ส่วนใหญ่จะแสดงอาการเป็นพิษต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต
อาการที่เกิดอาจเป็นชนิดรุนแรงหรือชนิดเรื้อรังก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ก. ชนิดและปริมาณของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ข. ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางปาก (อาหาร) ผิวหนังหรือทางการหายใจ
ค. ปริมาณสารตกค้างที่สะสมอยู่ในร่างกาย
ง. ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนใด
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง
จึงเชื่อกันว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้เช่นกัน อันตรายเหล่านี้จะเกิดช้าๆ
และไม่ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อประโยชน์ในงานประเภทใดก็ตาม
ควรคำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
โดยเปรียบเทียบประโยชน์และอันตรายที่จะได้รับภายหลัง การใช้ให้ดีเสียก่อน
เพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดสลายตัวได้หมดภายหลังการใช้
แต่บางชนิดจะสลายตัวได้ยากหรือเกือบจะไม่สลายเลย คงเหลือสารตกค้างอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม
เท่าที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ผลิตขึ้นจากสารเคมีและสลายตัวได้ยาก
จึงจำเป็นต้องศึกษาพิษอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ดีและรู้จักหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านั้น
โดยปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีใช้ที่มีฉลากโดยเคร่งครัด การควบคุมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างรัดกุม
จะช่วยให้ได้รับประโยชน์เต็มที่และเกือบจะไม่มีอันตรายเหลืออยู่เลย เท่าที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่
สารเคมีกำจัดแมลง (Insecticides) กำจัดเชื้อรา (Fungicides) กำจัดวัชพืช (Herbicides) และกำจัดหนู
(Rodenticides)
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักดีถึงอันตรายที่ประชาชนอาจได้รับจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
จึงทาการศึกษาวิจัยหาสารตกค้างดังกล่าวในอาหารเป็นประจำ
เพื่อการเฝ้าระวังและติดตามชนิดและปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างในอาหาร ตัวอย่างอาหารที่นำมาวิเคราะห์
มีทั้งชนิดดิบและสุกทุกประเภท เช่น ผัก ผลไม้ กุ้งแห้ง ข้าว ไข่ เนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำมันปรุงอาหาร ฯลฯ
โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดขายส่งขายปลีกและแหล่งเพาะปลูกหรือจากหน่วย
ราชการและเอกชนส่งให้วิเคราะห์เพราะสงสัยว่าสาเหตุให้เกิดอาการเป็นพิษ
และผู้ส่งออกที่ต้องการหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าอาหารที่จะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยเท่าที่ผ่านมาแล้ว
ปรากฏว่าปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอาหารโดยเฉลี่ยแล้ว
ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค
1. ล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เพื่อชะล้างสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่บนผิวของ
ผักและผลไม้ให้หมดไป หรือ
2. แช่ผักและผลไม้ในน้ำยาล้างผัก แล้วล้างน้ำยาให้หมดด้วยน้าสะอาดหลายๆ ครั้ง
3. ผักและผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ ควรล้างด้วยน้าให้สะอาดก่อนปอกเปลือก
4. การต้มผักแล้ว เทน้ำทิ้งไปจะช่วยลดปริมาณยาฆ่าแมลงในผักลงได้บ้าง
5. ถั่วแห้งทุกชนิด ก่อนนามาใช้ปรุงอาหารควรล้างด้วยน้ำให้สะอาด ถ้าเป็นอาหารที่ต้องต้ม
ควรทิ้งน้ำต้มครั้งแรก เพื่อให้ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่บนผิวนอกของ เมล็ดถั่วหลุดไปได้มากที่สุด
6. ก่อนฉีกหรือพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ควรถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังนี้
ใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
7. ห้ามนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มาใช้บรรจุอาหาร เครื่องดื่มหรือน้ำเป็นอันขาด
ชื่อสมุนไพร รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่ออื่น หนาแหน้
สรรพคุณ สรรพคุณรางจืดตามตำรายาไทย กล่าวไว้ว่า รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้
ถอนพิษผิดสาแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ด้วย ใช้แก้พิษเบื่อเมา เนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อประเภทยาสั่ง
รางจืดช่วยถอนพิษสุรา หากดื่มสุราจัดเกินขนาด แล้วเกิดอาการเมาค้าง
รางจืดถอนได้หรือหากเคี้ยวหรืออมเถารางจืดไว้ใต้ลิ้น เมื่อดื่มเหล้ามากแต่เมาน้อย
ยังมีรายงานการศึกษารางจืดพบว่าแก้โรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังใช้แก้พิษได้อีกหลายอย่าง
เช่น สุนัขโดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาเพราะเจ้าของคั้นน้ำรางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยา
ก็มักแก้ด้วยรางจืดรวมทั้งพิษเบื่อเมาจากอาหาร เช่น เห็ด ผักหวาน ว่านพิษ หรือพิษจากสัตว์
สรรพคุณที่เป็นรูปธรรมของรางจืดยังมีอีกมาก เช่น สามารถแก้อาการท้องร่วง อาการแพ้
ผื่นคันเนื่องจากอาหารเป็นพิษ รางจืดที่ใช้ในการขจัดสารพิษและแก้เมาค้างนั้น คือ รางจืดเถา
ชนิดดอกสีม่วงเพราะมีโอสถสารที่รากและใบแรงกว่ารางจืดชนิดอื่น วิธีใช้ก็คือ
จะใช้อย่างสดหรืออย่างแห้งก็ได้ อย่างสดก็เด็ดใบรางจืดมา 4-5 ใบ โขลกตาผสมน้ำหรือน้ำซาวข้าวยิ่งดี
แล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้ รางจืดแห้ง 300 กรัม (3 ขีด) ต่อน้ำ 1ลิตร และให้ดื่มน้ำรางจืด
200 ml.ทุก 2 ช.ม. แต่หากท่านใดสนใจจะชงดื่มเป็นชา มีวิธีชงดังนี้ นำใบรางจืดแห้ง
1 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 กาเล็ก (ใส่น้าประมาณ 8 แก้ว)
ดื่มต่างกับน้ำทั้งวันชงดื่มได้ทุกวันโดยไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงบ้างเล็กน้อย
ส่วนการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น มีการศึกษาครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทดลองในหนูขาวให้หนูได้รับพิษโฟลิดอล ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง
อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตก็พบว่าใบรางจืดสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิ
ษโฟลิดอลได้ดีพอควรแม้ยังไม่รู้ถึงกลไกการแก้พิษร้ายนี้ก็ตาม และเมื่อราว ๖-๗
ปีก่อนมีความพยายามแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ได้รับสารพิษทางการเกษตร
จาพวกยาฆ่าปราบศัตรูพืชต่างๆโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี ได้ทำการศึกษา โดยเก็บ
ข้อมูลเบื้องต้นในการใช้รางจืดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้า คือ "พาราควอท"(ชื่อการค้ากรัมม็อกโซน)
หลังจากใช้รางจืดรักษาควบคู่กับวิธีของทางโรงพยาบาล พบความอัศจรรย์ว่า ผู้ป่วยรอดชีวิตร้อยละ
๕๑ ดีกว่าแต่ก่อนครึ่งต่อครึ่ง สรรพคุณที่ฮิตที่สุดของรางจืดในปัจจุบันเห็นทีจะไม่พ้นการเมาค้าง
หรือดื่มหนัก (ไม่ขับ) วิธีใช้ว่ากันตามแบบฉบับคลาสสิก ใช้ได้ทั้งการกินสดๆ และแห้ง คือ
เอาใบสด ๔-๕ ใบ ใส่ครกตาผสมน้าถ้าได้น้าซาวข้าวยิ่งดี แล้วคั้นเอาน้าดื่ม หรือจะใช้ส่วนที่เป็นราก
และเถารางจืดสดตาคั้นก็ได้ส่วนวิธีแห้ง ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลานี้ คือ การนาใบแห้งมาชงกับน้าดื่ม
เหมือนชงชาจีนนั่นแหละ ส่วนความเข้มของยาแล้วแต่จะชงอ่อนชงแก่
จากงานวิจัยเรื่อง "การทดลองใช้รางจืดแก้พิษยาฆ่าแมลง
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น
มีการศึกษาครั้งแรกที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากงานวิจัยเรื่อง "การทดลองใช้รางจืดแก้พิษยาฆ่าแมลง"
ทดลองในหนูขาว ให้หนูได้รับพิษโฟลิดอล
ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงตราหัวกระโหลกไขว้
อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟต
ก็พบว่าสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิษโฟลิดอลได้ดีมาก
คือจากร้อยละ 66.33 เหลือแค่ร้อยละ 25 เท่านั้น
การศึกษาทดลองฤทธิ์ลดไข้ในหนูขาว พบว่าได้ผลดี
ทดสอบใช้ใบรางจืดแก้พิษยาฆ่าแมลง Folidol-
E พบว่าน้ำสกัดจากใบรางจืดร่วมกับ Nropine
สามารถลดอัตราการตายของสัตว์ได้
ทดลองในหนูพบว่าน้ำสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ต้านพิษยาฆ่าแมลงชนิ
ด Organophosphates ได้
ในปี 2546 วิรวรรณ วิสิฐพงศ์พันธ์ ปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้วิจัยเรื่อง "การทดสอบความเป็นพิษของน้ำสกัดใบรางจืด"
ได้ผลสรุปว่า
น้ำสกัดใบรางจืดไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพ
ยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อ ของอวัยวะภายในของหนูขาว
และไม่ก่อให้เกิดพิษต่อเซลล์เนื่องจ
ากไม่เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ
และมีแนวโน้มว่าอาจมีฤทธิ์ช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์มากกว่าก่
อให้เกิดพิษ ที่มา : วารสานสมุนไพรปีที่ 10(2)ธ.ค. 2546
นอกจากนี้รศ.ดร.วีระวรรณ เรืองยุทธิการณ์
ยังได้วิจัยเรื่อง "การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบรางจืด"
โดยทดลองกับหนูขาว 350 ตัว พบว่า
ไม่มีผลเป็นพิษต่อหนูขาวและน้ำสกัดรางจืดที่เตรียมด้วยน้ำร้อนมีผ
ลลดอัตราการตายของหนูขาวได้ดีกว่าน้ำสกัดที่ทำจากน้ำเย็น
และพบว่าใบรางจืดแห้งสามารถใช้แก้พิษโฟลิดอนได้เช่นเดียวกับ
ใบรางจืดสด
โดยสามารถแก้พิษยาฆ่าแมลงประเภทorganophosphatesได้
มีข้อแนะนำว่าควรระวังในการนำไปใช้กับสตรีมีครรภ์
ผู้ที่มีความดันต่ำ และผู้ที่เป็นโรคหืด
โดยพบว่ามีฤทธิโดยตรงกระตุ้นการทำงานของ non-vascular
smooth muscle
ทำให้การทำงานกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและอาจออกฤทธิ์ผ่าน
Cholinergic recepterCholinergic receptor
เป็นผลให้ความดันลดลง
กลไกแท้จริงในการแก้พิษคาดว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับขอบเขตทาง
ชีวเคมีมากกว่าทางเภสัชวิทยา
ภญ.ณัฏฐิยา พงศ์ผาสุก
หนึ่งในคณะผู้วิจัยกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลมหาราชนคร
ราชสีมา กล่าวว่า ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขปี
2546 ที่ผ่านมา ได้นำเสนอผลการศึกษาการใช้รางจืด
ทดแทนยาต้านการอักเสบ
เนื่องจาก ในปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ยาต้านอักเสบในกลุ่มลดบวม
เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
อีกทั้งยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงมาก
ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังบาง
มีผลต่อกระเพาะอาหาร เป็นต้น
จากการค้นคว้างานวิชาการ พบว่า
รางจืด ซึ่งเป็นพืชในตระกูลอาคันทาเซอี
ใช้เอทานอลสกัดได้สารสำคัญช่วยลด
การอักเสบในอุ้งเท้าและหูหนูได้ ดังนั้น
คณะผู้วิจัยจึงนำสมุนไพรมาพัฒนาเพื่อใช้ร่วมในการรักษา
โดยศึกษาเปรียบเทียบสูตรตำรับเจลรางจืด 6
ตำรับ เพื่อหาสูตรตำรับที่มีความคงตัวดีที่สุด
ศึกษาความคงตัวทางกายภาพ และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
เปรียบเทียบความเข้มข้นระดับต่าง ๆ
ของเจลรางจืดที่ลดบวมดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า
ตำรับเจลรางจืดความเข้มข้น 40 %
ที่มีโพโลซานเนอร์เป็นสารก่อเจล และ
โปรปีลีน ไกลคอล เป็นสารที่ช่วยในการดูดซึม
ให้ผลในการลดบวมดีที่สุด มีความคงตัวทางกายภาพ
รวมทั้งมีฤทธิ์ลดบวมได้ไม่แตกต่างจากยา Diclofenac Emulgel
ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ.
ที่มา:“เภสัชกร” ไทยเจ๋ง วิจัย“เจลรางจืด”
ทางเลือกใหม่ใช้ต้านการอักเสบ.ผู้จัดการ.การวิจัย
ผลของรางจืดต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดและร
ะบบสืบพันธ์ของหนูขาวที่เป็นเบาหวานของสาริกา
อริธชาติ สุลักษณ์ วุทธีรพลและกนกพรแสนเพชร
พบว่า เมื่อป้อนให้หนูเบาหวานเป็นระยะเวลา 15
วันสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูเบาหวานได้และมีแนวโน้มลดน้ำ
ตาลในนเลือดหนูปกติได้
ศ.ดร.ธีระยุทธ กลิ่นสุคนธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ได้วิจัยเรื่อง " การศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดใน
และรากของรางจืดในการแก้พิษแอลกอฮอล "
ได้ผลสรุปว่า ผลของสารสกัดจากใบรางจืด
ต่อการป้องกันการทำลายตับจากอัลกอฮอล
พบว่าที่ระยะเวลา 15 ชั่วโมง
หลังจากได้รับเอทธานอลเข้าไปสารสกัดจากใบรางจืดในขนาด
200 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
มีผลทำให้การเกิดพิษที่ตับอันเนื่องมากจากเอทธานอลลดลง
คือ มี การลดลงของตัวบ่งชี้การเกิดพิษที่ตับ
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสามารถไปลดการสูญเสียความสามารถในก
ารตอบสนองซึ่งเกิดจากการได้รับเอทธานอลในปริมาณสูงได้อีกด้
วย
ผลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพทั่วไปและการ
ทำงานของตับในระดับโมเลกุล
ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ด้วยฤทธิ์ของสารสกัดจา
กใบรางจืด
จากผลการทดลองที่ได้ในครั้งนี้สรุปได้ว่าถ้าได้รับสารสกัดจากใบ
รางจืดในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนการได้รับเอทธาน
อลเข้าไปสามารถไปลดการเกิดพิษที่ตับอันเนื่องจากเอทธานอล
ผศ.ดร.วัชรีวรรณ ทองสะอาด คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการวิจัยเรื่อง "
สารสกัดสมุนไพรกับการรักษาภาวะการณ์ติดสารเสพติดในหนูทด
ลอง " ผลการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่า
รางจืดมีผลกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีนจากสมอ
งส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและความพึงพอใจ
คล้ายผลของสารเสพติดแอมเฟตามีนและโคเคน
2) เมื่อให้รางจืดเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ไม่แสดงผลในการติดยา
3)
รางจืดมีผลกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเคลื่อนไ
หวและความพึงพอใจคือ นิวเครียสแอคคัมเบน คอร์เดท นิวเครียส
และอะมิกดาลา นิวเครียสเช่นเดียวกับผลของสารเสพติด
ศิริวรรณ (2522) พบว่าสารสกัดใบรางจืด
สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Aerobacter
aerogens ได้ ในขณะที่ Kongyingyos และคณะ (1990)
ใช้น้ำสกัดใบรางจืดยับยั้งการเจริญของไวรัส hepes simplex type
1 และChanawirat(2000)
ใช้สารสกัดจากใบรางจืดลดพิษต่อตับของอัลกอฮอล์ในหนูถีบจักร
ได้ ส่วนสุพรและคณะ(2541)
ได้พัฒนาสารสกัดใบรางจืดเป็นยาทาภาย-
นอกสำหรับต้านการอักเสบ
เพราะสามารถต้านการอักเสบในหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญทา
งสถิตินอกจากนี้มีการทดสอบยืนยันว่าน้ำสกัดใบรางจืดสามารถลด
อัตราการตายของหนูขาวเนื่องจากพิษของสารกำจัดแมลงได้
(พาณี และ ชัชวดี,2523, วีระวรรณ, 2523)
และยังสามารถลดอุณหภูมิร่างกายหนูขาวได้ด้วย (บุษบง, 2521)
วารสารสมุนไพร ปีที่ 10(2) ธ.ค. 2546
ได้รายงานการทดสอบความเป็นพิษต่อหนูขาว โดย วิรวรรณ
วิสิฐพงศ์พันธ์ วีระวรรณ เรืองยุทธิการณ์ ไชยยง รุจจนเวท
อำไพ ปั้นทอง อุษณีย์ วินิจ เขตคำนวณ นิรัชร์ เลิศประเสริฐสุข
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผลสรุปว่าไม่ทำให้
lipid membrane เสียหายจึงไม่เป็นพิษต่อเซลล์
เนื่องจากไม่เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระและมีแนวโน้มว่าอาจมีฤท
ธิ์ช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์มากกว่าก่อให้เกิดพิษ
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพื่อศึกษาผลของการใช้รางจื
ดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ พาราควอท (Paraquat)
โดยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี ซึ่งสรุปได้ว่า
รางจืดมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับสารพาราควาอทรอดชีวิตได้มาก
ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ศูนย์ข้อมูลด้านสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ระบุว่ารางจืดได้ชื่อว่าเป็นยอดสมุนไพรต้านพิษ
ใช้ล้างพิษได้สารพัด ทั้งพิษจากเหล้า บุหรี่ ยาฆ่าแมลง สารเคมี
มลภาวะต่างๆ ไปจนถึงพิษร้ายแรงจากสัตว์ อาทิ แมงกะพรุนไฟ
แมงดาทะเล
รายงายวิจัยที่จังหวัดอ่างทอง บรรจุแคปซูลให้
ชาวนาชาวไร่ ทานแล้วไปตรวจเลือด พบว่า DDT
ในกระแสเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โรงพยาบาลบางกระทุ่ม และโรงพยาบาลเดชอุดม
ศึกษาสรรพคุณของชาชงรางจืด
เพื่อต้านพิษของสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่ม organophosphate
ชาชงรางจืดสามารถเพิ่ม activity ของเอนไซม์ cholinesterase
ในเลือด แต่การศึกษายังไม่อาจสรุปผลได้
คณะเภสัชศาสคร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษต่อตับของแอลกอฮอล์
พบว่า
สารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วยป้องกันการตายข
องเซลตับจากพิษของแอลกอฮอล์ในหลอดทดลอง
และในหนูขาวที่ได้รับแอลกอฮอล์
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ใช้สมุนไพรรางจืด แก้พิษจากการบริโภคไข่แมงดาทะเลในผู้ป่วย
2 ราย พบว่ามีอาการดีขึ้น
ทำให้มีแนวคิดเพิ่มเติมว่าจะสามารถนำรางจืดไปใช้แก้พิษในปลา
ปักเป้าได้หรือไม่ เพราะเป็น Tetrodotoxin เหมือนกัน
รายงานการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของสมุนไพรรางจืดในการลดสา
รกำจัดแมลงตกค้างในกระแสโลหิตของเกษตรกรในอำเภอโพธิ์ทอ
ง จังหวัดอ่างทอง ของ ไพศาล ดั่นคุ้ม
รักษาการนายแพทย์ด้นเวชกรรมป้องกัน
สำนักงานสารธารณสุขจังหวัดอ่างทอง โดยกลุ่มทดลอง161
คน(ทานรางจืด)และกลุ่มควบคุม 137 คน คนทั้ง 2
กลุ่มอยู่ในระดับป่วยเนื่องจากมีสารพิษตกค้างในกระแสเลือดในระ
ดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
ผลปรากฎว่าระดับของสารตกค้างในกระแสเลือดของทั้ง 2
กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ 95 %
ของกลุ่มทดลองอยู่ในระดับหายป่วย
แสดงว่าสมุนไพรรางจืดมีประสิทธิผลในการลดระดับสารกำจัดแมล
งตกค้างในกระแสเลือด ที่มา วารสารอาหารและยา 8, 3 (กันยายน-
ธันวาคม 2544)
สุพัตรา ปรศุพัฒนา; ปราโมทย์ มหคุณากร; ธานี
เทศศิริ; สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิจัยเรื่อง "ผลของรางจืดต่อการลดพิษพาราควอท"
ได้ทำการแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ได้รับพาราควอทกับน้ำ (กลุ่มควบคุม)
กลุ่มที่ได้รับพาราควอทกับสารสกัดจากใบรางจืดด้วยน้ำร้อน
และกลุ่มที่ได้รับพาราควอทกับสารสกัดจากใบรางจืดด้วยน้ำที่อุณ
หภูมิห้อง
ผลของสารสกัดจากใบรางจืดต่อการมีชีวิตอยู่รอดในหนูที่ได้รับพา
ราควอท 70 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (LD50=67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
หลังจากได้รับพาราควอท 24
ชั่วโมงพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบรางจืดมีชีวิตรอดสูงกว่
ากลุ่มควบคุม (p<0.01)
ผลของสารสกัดจากใบรางจืดต่อระดับพลาสม่า MDA
และวิตามินอีในหนูที่ถูกทำให้เกิดพิษจากพาราควอท 60 มิลลิกรัม/
กิโลกรัม พบว่า
หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบรางจืดมีระดับพลาสม่า MDA
ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01)
ขณะที่ไม่พบความแตกต่างของระดับพลาสม่า วิตามินอีทั้ง 3 กลุ่ม
(p>0.05)
จากผลการศึกษาเห็นได้ว่าสารสกัดจากใบรางจืดสามารถช่วยลดพิ
ษจากการเกิดพิษของพาราควอทในหนูขาว
สุขสันต์ ช่างเหล้ก และจิตบรรจง ตั้งปอง
แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "สารประกอบฟีนอลิกในรางจืดป้อง
กันการเสื่อมของระบบประสาทจากพิษตะกั่ว" สรุปผลได้ว่า "
สารประกอบฟินอลิกในรางจืดมีผลป้องกันการสูญเสียการเรียนรู้
และความทรงจำที่เกิดจากการได้รับพิษตะกั่วเหนี่ยวนำให้เกิดควา
มผิดปกติของระบบเหนี่ยวนำสมอง
ปลายปี 2552 ดร.อัจฉรา ศรีสดใส คณะเภสัชศาสตร์ ,
ดร. ปราโมทย์ มหคุณากร
ได้เสนองานวิจัยเรื่อง "การศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านอักเสบขอ
งสารสกัดใบรางจืด:ผลยับยั้งการแสดงออกของยีนต์
cyclooxyense-2 inducible nitricoxide synsthase
ในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ"พบว่าสารสกัดจากใบรางจืดมีฤทธิ์ยั
บยั้งการสร้างสาร nitric oxide (NO) และสาร prostaglandin E2
(PGE2) ในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ (RAW 264.7)
ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) นอกจากนั้น
ยังพบว่าสารสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ COX-2
mRNA และ iNOS mRNA ในลักษณะ dose-dependent
ซึ่งผลการศึกษาในระดับโมเลกุลมีความสอดคล้องกับผลการศึกษา
ในระดับชีวเคมี
โดยข้อมูลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษา
กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับขบวนการอักเสบในการสร้างสาร COX-2
และ iNOS เช่น rheumatoid arthritisis, osteoarthritis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE
ชื่ออื่น: ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องคำ, พญาปล้องดำ, พญายอ, เสลดพังพอน, พญาปล้องทอง
รูปลักษณะ: เสลดพังพอนตัวเมีย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก
กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม
โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณของ เสลดพังพอนตัวเมีย : ใบสด ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน
โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด
เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน แล้วกรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ ให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง
เติมกลีเซอรินเท่าตัว
งานวิจัยเกี่ยวกับสเลดพังพอนตัวเมีย(พยายอ)
1. ฤทธิ์รักษาโรคงูสวัด
ศึกษาโดยนำสารสกัดจากใบพญายอที่ความเข้มข้นต่างๆ
มาศึกษาโดยวิธี plaque reduction assay พบว่า ที่ความเข้มข้น
1:1,200 ยับยั้งเชื้อไวรัส Varicella zoster ก่อนเข้าสู่เซลล์ได้
50% ขนาด 1: 4,800 จะฆ่าเชื้อดังกล่าวในเซลล์ และขนาด 1:
9,600 สามารถทำลายเชื้อไวรัสโดยตรงได้ 50% จะเห็นได้ว่า
เมื่อเชื้อเข้าสู่เซลล์แล้ว ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสจะลดลง
มีการเตรียมเป็นยาทาในรูปทิงเจอร์เพื่อใช้รักษาอา
การอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กิโลกรัม
ปั่นละเอียด เติม 70% แอลกอฮอล์ 1 ลิตร หมักนาน 7 วัน
กรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง
แล้วเติมกลีเซอรีนเท่าตัว
2. ฤทธิ์ลดการอักเสบ พบว่า เมื่อนำสารสกัดด้วย
n-butanol จากใบให้ทางปากหนูขาว
จะลดการอักเสบของอุ้งเท้าที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan
และลดการอักเสบของถุงลมหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดโดยฉีดลมแ
ละน้ำมันละหุ่ง ได้
3. ไม่มีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ผื่นแพ้และตุ่มคัน
แต่การช่วยรักษาอาการดังกล่าวอาจเนื่องมาจากฤทธิ์ลดการอักเส

7. การวิจัยทางคลินิก
1.
มีการทดลองทางคลินิกในการใช้กลีเซอรีนพญ
ายอในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นแผล อักเสบในปาก
ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 7 ราย พบว่า
สามารถลดอาการปวดอักเสบและรักษาแผลหายภายใน 1-3 วัน
2. ผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ
เมื่อรักษาโดยทาแผลของผู้ป่วยด้วยครีมพญายอ (5%)
เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Acyclovir และยาหลอก พบว่า
แผลของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัด
ใบพญายอและ Acyclovir จะตกสะเก็ดภายในวันที่ 3
และหายภายในวันที่ 7 แสดงว่าครีมพญายอและครีม Acyclovir
มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพัน
ธ์ให้หายได้เร็วพอ กัน แต่ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการแสบ
ระคายเคืองในขณะที่ครีม Acyclovir ทำให้แสบและราคาแพง
3. ผู้ป่วยโรคงูสวัด เมื่อรักษาโดยทาแผลด้วยครีมพญายอ
(5%) วันละ 5 ครั้งทุกวัน ปรากฏว่าแผลจะตกสะเก็ดภายใน
1-3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน
ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกแผลจะตกสะเก็ดภายใน 4-7 วัน
และหายภายใน 10-14 วัน ผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาด้วยครีมพญายอ
จะมีระดับความเจ็บปวดลดลงรวดเร็วกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาหลอก
และไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ จากการใช้สารสกัดใบพญายอ

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

หนูกัดเหล็ก


หนูกัดเหล็ก
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว    มีเศรษฐีคนหนึ่งมีลูกชายเป็นคนไม่รักดี    ได้แต่ใช้จ่ายทรัพย์เที่ยว  กิน  เล่น   เลี้ยงเพื่อนฝูง   ไม่นึกทำมาหากิน    พ่อแม่จะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง
ในที่สุดเศรษฐีก็ตรอมใจตาย    แต่ก่อนตายได้เอาเงินกับทองใส่ตุ่มอย่างละตุ่มฝังไว้    และด้วยความดีที่ได้กระทำมา    ส่งผลให้เศรษฐีไปเกิดเป็นเทวดา
ฝ่ายลูกเศรษฐีเมื่อพ่อแม่ตายแล้วก็ยิ่งกำเริบ    ใช้เงินเลี้ยงเพื่อนเที่ยวเตร่เสเพล    ไม่นานเงินก็หมด     เพื่อนฝูงที่เคยล้อมหน้าล้อมหลังก็หายหน้าไปทีละคน
อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนชวนไปกินเลี้ยงกันตามเคย     โดยสั่งลูกเศรษฐีตกยากว่าถ้าคิดจะไปกินเลี้ยง     ก็ให้เอาไก่ไปร่วมในการกินเลี้ยงด้วยหนึ่งตัวลูกเศรษฐีอยากกินเลี้ยงมาก    ถึงแม้จะไม่มีเงินแล้ว     ก็ยังขวนขวายหาไก่
ได้ตัวหนึ่ง    จึงจัดการลวกน้ำร้อนถอนขน     แล้วผูกห่อใบตองเตรียมที่จะไปร่วมงานกินเลี้ยง
ครั้นเดินมาตามทาง    เพราะความเหนื่อยจึงแวะพักใต้ต้นไม้ข้างทางแล้วม่อยหลับไป    บังเอิญมีอีกาตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้นั้น    ได้กลิ่นเนื้อโชยมาจากใบตอง    จึงบินโฉบลงมาคาบห่อใบตองไป เขาจึงต้องไปงานกินเลี้ยงมือเปล่า          พอถึงบ้านเพื่อนที่นัดกินเลี้ยงก็เล่าให้เพื่อนฟัง     แต่ไม่มีใครเชื่อในคำพูดของเขาเลยต่างคิดว่าเขาคงไม่มีปัญญาหาไก่มา     จึงกุเรื่องแก้เก้อ     แถมยังพูดจาเยาะเย้ยถากถางว่าไม่มีปัญญาหาไก่มา     แล้วยังไปโทษอีกาอีก
ลูกเศรษฐีทั้งเจ็บทั้งอายตัดสินใจไม่ร่วมวงกินเลี้ยงด้วย    รีบเดินทางกลับบ้านเมื่อถึงบ้านแล้วก็ยังน้อยใจไม่หาย    นึกถึงความหลังที่ตนมั่งมีเงินทอง    ผู้คนล้อมหน้าล้อมหลัง  เสียใจกินไม่ได้   นอนไม่หลับ   ร่างกายก็ผ่ายผอมลง
ฝ่ายเทวดาพ่อแม่เห็นอาการของลูกก็อดสงสารเสียมิได้   จึงมาเข้าฝันลูกว่า
"นั่นแหละลูกเอ๋ย   เมื่อพ่อแม่ยังอยู่ก็ได้สอนเจ้านักหนาเรื่องการใช้เงินทองเมื่อยามลำบากยากจน    ใครเขาจะมานับถือ    พูดจริงก็เป็นหลอกไปได้ ขอให้เจ้ารู้สึกตัวและทำตัวเสียใหม่     พ่อแม่จะช่วย"       ในฝันนั้นเองลูกเศรษฐีก็คิดได้     จึงสัญญากับพ่อแม่ว่า     ต่อไปจะเลิกความประพฤติเดิมจะตั้งใจทำมาหากิน     เลี้ยงตัวให้มีเงินพอ    จะไม่ให้ใครมาดูถูกได้อีกต่อไป
เมื่อเทวดาพ่อแม่ได้รับคำสัญญาจากลูกเช่นนั้นก็พอใจยิ่งนัก     เมื่อลูกสัญญาว่าจะกลับตัว
เป็นคนดีจึงได้บอกที่ซ่อนตุ่มเงินและตุ่มทองให้ในฝันนั้นเอ'
พอตื่นขึ้นมาลูกเศรษฐีก็รีบไปขุดหาตุ่มเงินตุ่มทอง     ก็พบจริงตามฝัน จึงนำเงินในตุ่มมาทำทุนตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน    ไม่นานก็กลับฟื้นตัวพอมีฐานะขึ้นอีก    เพื่อนที่เคยหนีหาย    ก็เริ่มกลับมาคบหาเพิ่มขึ้นทุกวัน
ลูกเศรษฐียังจำวันที่เพื่อนฝูงเยาะเย้ยได้ไม่ลืม    วันหนึ่งลูกเศรษฐีเห็นได้โอกาสจึงชวนเพื่อนมากินเลี้ยงกันอีกเหมือนเมื่อยังร่ำรวยหนก่อน    เพื่อนฝูงต่างก็มากันพร้อมหน้าพร้อมตาขณะที่กินเลี้ยงอย่างครึกครื้นเฮฮาอยู่นั้น    ลูกเศรษฐีได้นำมีดเหี้ยนๆ    เล่มหนึ่งมาให้เพื่อนดูพลางพูดขึ้นว่า
"อัศจรรย์จริงๆ    มีดเล่มนี้เพิ่งซื้อมาใหม่ๆ   แท้ๆ    ทิ้งไว้คืนเดียวหนูมากัดเสียจนเหี้ยนหมดเหลือเท่านี้เอง"
เพื่อนฝูงทั้งหลายเมื่อได้ยินก็รับคำเชื่อตามคำพูด    บางคนก็ประสมโรงพูดว่า"จริงเหมือนเพื่อนว่าหนูมันร้ายนัก    มีดของเราก็เคยโดนเหมือนกัน    เหี้ยนเหมือนอย่างนี้ไม่มีผิด"เพื่อนคนอื่นก็พูดว่า  "ใช่ๆ"   คนละคำสองคำ         
ลูกเศรษฐีเมื่อได้ยินดังนั้น ก็คิดได้ว่า
"ยามเมื่อเรายากจนคนดูถูก ถ้อยคำที่พูดไม่มีน้ำหนัก    ถึงพูดความจริงก็ยังไม่มีคนเชื่อ
แต่เมื่อยามมั่งมีเงินทอง    จะพูดอย่างไรจริงหรือเท็จไม่สำคัญ    คนย่อมยอมรับเชื่อถือ"