วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำมันปาล์ม

น้ำมันปาล์ม

น้ำมันปาล์ม (palm oil) เป็นน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ใช้ วัตถุดิบคือ ผลของต้นปาล์ม ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อีเลอีส กีนีเอ็นซิส (Elaeis guineensis)  ผลปาล์มน้ำมัน (palm) เป็นพืชน้ำมัน (oil corp)  ซึ่งมีน้ำมันร้อยละ 56  มีสีเหลืองส้มของแคโรทีน (Carotene)

น้ำมันปาล์ม (palm oil) ได้จาก จากผลปาล์ม 2 ส่วนคือ

1. จากเปลือกหุ้มภายนอก (mesocarpน้ำมันที่ได้เรียกกว่า น้ำมันจากเนื้อปาล์ม (palm oil)  
2. จากเนื้อในของเมล็ด (palm Kernel) น้ำมันที่ได้เรียกว่า น้ำมันจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel oilซึ่งมีน้ำมันร้อยละ 44 - 48  

การแปรรูปน้ำมันปาล์ม

การผลิตน้ำมันปาล์มให้ทำได้ ดังนี้
(1) วิธีธรรมชาติ  ทำโดยการบีบอัดหรือบีบอัดโดยใช้ความร้อนหรือวิธีธรรมชาติอื่น  ตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และนำมาทำให้สะอาดโดยการล้าง การตั้งไว้ให้ตกตะกอน (
sedimentation) การกรอง (filtrationหรือการหมุนเหวี่ยง (centrifuge)
(2)  วิธีผ่านกรรมวิธี ทำโดยนำน้ำมันปาล์มที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสกัดด้วยสารละลายตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และนำมาผ่านกรรมวิธี ทำให้บริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง
(3) วิธีอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

คุณภาพมาตรฐานของน้ำมันปาล์ม

น้ำมันปาล์มเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 56 (พ.ศ.2524) เรื่อง น้ำมันปาล์ม กำหนดคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันปาล์มดังนี้ 


1. น้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม (Palm oil)
น้ำมันจากเนื้อปาล์ม น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเนื้อปาล์ม (Palm olein) และ น้ำมันปาล์มสเตียรินจากเนื้อปาล์ม (Palm stearin) ที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย เพื่อใช้รับประทานหรือใช้ปรุงแต่งอาหาร ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) มีค่าของกรด (
Acid value) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัม โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์ม ที่ทำโดยวิธีธรรมชาติ และไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำหนัก 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดยวิธีผ่านกรรมวิธีการผลิต
(2) มีค่าเพอร์ออกไซด์ (
Peroxide value) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมสมมูลย์เพอร์ออกไซด์ออกซิเจน ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม
(3)  มีส่วนประกอบของกรดไขมันเป็นร้อยละของกรดไขมันทั้งหมด โดยใช้วิธี กาซลิควิดโครมาโตกราฟฟี หรือ จี แอล ซี (Gas Liquid Chromatography หรือ G L C) ดังนี้
กรดลอริค (Lauric acid)
กรดไมริสติค (
Myristic acid)
กรดปาล์มมิติค (
Palmitic acid)
กรดปาล์มมิโตลีอิค (
Palmitoleic acid)
กรดสเตียริค (
Stearic acid)
กรดโอลีอิค (
Oleic acid)
กรดไลโนลีอิค (
Linoleic acid)
กรดไลโนลีนิค (
Linolenic acid)
กรดอราซิดิค (
Arachidic acid)
ไม่เกิน 1.2
ระหว่าง 0.5 ถึง 5.9
ระหว่าง 32 ถึง 59
ไม่เกิน 0.6
ระหว่าง 1.5 ถึง 8.0
ระหว่าง 27 ถึง 52.0
ระหว่าง 5.0 ถึง 14
ไม่เกิน 1.5
ไม่เกิน 1.0
(4)  มีค่าสปอนิฟิเคชั่น (Saponification value) ระหว่าง 190 ถึง 209 มิลลิกรัม โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม
(5)  มีค่าไอโอดีนแบบวิจส์ (Iodine value, Wijs) ดังนี้
       (ก)  ระหว่าง 50 - 56 สำหรับน้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม
       (ข)  ไม่น้อยกว่า 55 สำหรับน้ำมันปาล์มโอลีอินจากเนื้อปาล์ม
       (ค)  ไม่เกิน 48 สำหรับน้ำมันปาล์มสเตียรินจากเนื้อปาล์ม
(6)  มีสารที่สปอนิฟายไม่ได้ (Unsaponifiable matter) ไม่เกินร้อยละ 1.2 ของน้ำหนัก                
(7)  มีสิ่งที่ระเหยได้ (Volatile matter) ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
(8)  มีปริมาณสบู่ (Soap content) ไม่เกินร้อยละ 0.005 ของน้ำหนัก
(9)  มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของน้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม
(10)  มีสิ่งอื่นที่ไม่ละลาย (Insoluble impurities) ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของน้ำหนัก                     
(11)  มีปริมาณคาโรทีนอย (carotenoid) ทั้งหมด คำนวณเป็นเบตา-คาโรทีน ไม่น้อยกว่า 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม และไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดยวิธีธรรมชาติ
(12)  ไม่มีกลิ่นหืน (
rancidity)
(13)  ไม่มีน้ำมันแร่

2. น้ำมันจากเมล็ดปาล์ม
น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม (Palm kernel oil) น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเมล็ดปาล์ม (Palm kernel olein) น้ำมันปาล์มสเตียรินจากเมล็ดปาล์ม (Palm kernel stearin) ที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย เพื่อใช้รับประทานหรือใช้ปรุง แต่งอาหาร ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1)  มีค่าของกรด (Acid value) ไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดยกรรมวิธีการผลิต
(2)  มีค่าเพอร์ออกไซด์ (
Peroxide value) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมสมมูลย์เพอร์ออกไซด์ ออกซิเจน ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม
(3)  มีส่วนประกอบของกรดไขมันเป็นร้อยละของกรดไขมันทั้งหมดโดยใช้วิธี กาซลิควิดโครมาโตกราฟฟี หรือ จี แอล ซี (Gas Liquid Chromatography) หรือ G L C) ดังนี้ เว้นแต่น้ำมันปาล์ม โอลีอินจากเมล็ดปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียรินจากเมล็ดปาล์ม ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรดคาโปรอิค (Caproic acid)
กรดคาปรีลิค (
Caprylic acid)
กรดคาปริค (
Capric acid)
กรดลอลิค (
Lauric acid)
กรดไมริสติค (
Myristic acid)
กรดปาล์มมิติค (
Palmitic acid)
กรดสเตียริค (
Stearic acid)
กรดโอลีอิค (
Oleic acid)
กรดไลโนลีอิค (
Linoleic acid)
ไม่เกิน 0.5
ระหว่าง 2.4 ถึง 6.2
ระหว่าง 2.6 ถึง 7.0
ระหว่าง 41 ถึง 55
ระหว่าง 14 ถึง 20
ระหว่าง 6.5 ถึง 11
ระหว่าง 1.3 ถึง 3.5
ระหว่าง 10 ถึง 23
ระหว่าง 0.7 ถึง 5.4
(4)  มีค่าสปอนิฟิเคชั่น (Saponification value) ระหว่าง 230 ถึง 254 มิลลิกรัม โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม
(5)  มีค่าไอโอดีนแบบวิจส์ (Iodine value, Wijs) ระหว่าง 13 ถึง 23 เว้นแต่น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเมล็ดปาล์ม และน้ำมันปาล์ม
สเตียรินจากเมล็ดปาล์ม ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(6)  มีสารที่สปอนิฟายไม่ได้ (Unsaponifiable matter) ไม่เกินร้อยละ 1 ของน้ำหนัก
(7)  มีสิ่งที่ระเหยได้ (Volatile matter) ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
(8)  มีปริมาณสบู่ (Soap content) ไม่เกินร้อยละ 0.005 ของน้ำหนัก
(9)  มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของน้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม
(10)  มีสิ่งอื่นที่ไม่ละลาย (Insoluble impurities) ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของน้ำหนัก
(11)  ไม่มีกลิ่นหืน
(12)  ไม่มีน้ำมันแร่

น้ำมันปาล์มที่ผลิตตามวิธีอื่นในข้อ 3(3) ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตาม (3)(4)(5)(6) และ (9)  แต่ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น