วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และน้ำมันปลา

เรื่องของปลาซาร์ดีน  ปลาแมคเคอเรล  และน้ำมันปลา

ในความเป็นจริงแล้ว ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ประเทศตะวันตกใช้เรียกแทนปลาตัวเล็กตัวน้อยทั้งหลาย
เรื่องมันเกิดมาจาก ช่วงสงครามโลกครั้งที่1 (ยุคระหว่างก่อนทศวรรศ 30-40) เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร จึงมีการแก้ปัญหาด้วยการจะนำปลาพวกนี้ มาทำอาหารกระป๋องแจกและจำหน่าย หลังจากนั้นจึงมีการกำหนด โดยทีแรกจะมีองค์กรกลางคือ Codex  Alimentarius  Commission  เป็นผู้ตั้งมาตรฐาน โดยใช้การรับข้อมูลจากประเทศต่างๆ ว่าจะเอาปลาชนิดใด ปลาชนิดใดสามารถหาได้สะดวกก็ใช้ปลานั้น เช่น อเมริกาก็ใช้ปลาแองโชวี่ คนไทยเราก็ใช้ปลาเฮอริ่ง ส่วนใหญ่จะตัวเล็กๆ นอร์เวย์ใช้ปลาเฮอริง ปลาสแปรต แถบยุโรปพวกฝรั่งเศส    โปรตุเกสจะเป็นพวกปลาฟิลเชิร์ด
ปลาชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเป็นปลาทะเลที่มีมัน มีกรดไขมัน Omega3, EPA, DHA ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อสมอง มีไอโอดีน วิตามินA กำมะถัน ธาตุเหล็ก โปรตีน แคลเซียม (ในปลาตัวเล็กที่กินทั้งกระดูก (ก้าง)) 

กรดไขมันนั้น 3 นั้น มีข้อมูลโดยย่อ ดังนี้

ในสมองของเรานั้น 80% ประกอบไปด้วยไขมัน จากการศึกษาก็พบว่ามีองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวพวก Omega3 Omega6 EPA DHA และอื่นๆอีกมากอยู่ ซึ่งเนื้อสมองแน่นอนว่าย่อมมีการสึกหรอไปตามกาลเวลา และต้องมีการพัฒนาตลอด เพราะสมองเราทำงานแทบทุกเสี้ยววินาทีที่ร่างกายยังขยับเขยื้อนได้แม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นผลให้ไขมันไม่อิ่มตัวพวกนี้จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะOmega-3 จำเป็นมากต่อเนื้อสมอง เพราะร่างกายสังเคราะห์และสร้างเองไม่ได้ (ต่างจากไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวบางชนิดเพราะร่างกายสร้างเองได้ และสามารถเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลส่วนเกินเป็นไขมันสะสมได้ด้วย) 
จากการศึกษาพบว่า ประชากรที่กินปลาน้อยๆ (แอฟริกากลาง - ใต้ , จีนตอนกลาง และประเทศในส่วนที่ไม่ติดทะเลหรือความนิยมบริโภคปลาต่ำ มีสัดส่วนโรคซึมเศร้าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศที่นิยมกินปลาจริงๆ แล้ว Omega-3 พบได้ในผักเช่น ผักใบเขียว สาหร่าย ถั่ว เมล็ดพืช เป็นต้นทำให้ทราบว่า ปลาทะเลมีกรดไขมันนี้เพราะ กินสาหร่ายกับพืชน้ำเข้าไปนั่นเอง
ซึ่งก็ได้มีการทดลองกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยให้รับกรดไขมันนี้ไป พบว่า อาการซึมเศร้าของเขาลดลงจนเป็นปกติได้

จากการศึกษาพบว่า แม่เด็กระยะตั้งครรภ์ที่กินปลามันๆ ลูกที่ออกมาจะมีพัฒนาการที่เร็วกว่าและยังเสี่ยงต่อโรคทางสมองที่ไม่ใช่มะเร็งและกรรมพันธุ์น้อยกว่าแม่ที่ไม่กินปลามันๆอย่างสม่ำเสมอด้วย
นอกจากนั้น ยังพบว่า ในเด็กวัยเจริญพันธุ์ เด็กที่ได้รับกรดไขมันนี้ในปริมาณเหมาะสมมีท่าทีว่าจะพัฒนาการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น รวมถึงมีสมาธิขึ้นด้วย แต่ข้อหลังนี้ถูกโต้แย้งเนื่องจากเป็นไปได้ที่ผู้ที่รู้สึกว่าตนถูกทดลองมักจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเองโดยความรู้สึกส่วนตัวและจากการศึกษา พบว่า Omega-3ในรูป EPA มีผลที่ดีต่อหัวใจ ลดการเกาะอุดตันตีบตันของเส้นเลือดหัวใจได้ ปัจจุบัน มีการยอมรับให้ใช้ Omega-3 ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และโรคทางประสาทบางชนิด
สำหรับการรับ Omega-3 จากทางอื่นที่ไม่ใช่ปลา เช่น ผัก โอกาสได้รับตรงๆมีน้อยลง เพราะระหว่างกระบวนการจะมีการแปรสภาพ Omega-3 เป็น EPA และ DHA ตามลำดับ ซึ่งมีผลต่อกระบวนการอื่นในสมองและร่างกาย 
ในหนึ่งสัปดาห์ ควรทานปลามันๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง เช่น ปลาทูน่า"สด" (ปลากระป๋องส่วนใหญ่ผ่านกรรมวิธีการผลิตมามาก ทำให้สูญเสียความสดใหม่ ที่ควรมีไป) ปลาซาร์ดีน แมคเคอเรลพวกปลาทู เป็นต้น 

ปล. จะมีกรดไขมันอีกอย่างคือ Omega-6 ไม่จำเป็นต่อร่างกายเท่าใดนัก แถมยังมีผลขัดขวางการรับ Omega-3 ด้วย Omega-6 พบในพืชพวกหัวมันเป็นส่วนมาก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น