วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของไทยในสมัยสุโขทัย

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของไทยในสมัยสุโขทัย
                
จากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 ทำให้เราทราบว่า เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือง ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี บ้านเมืองมมีความอุดมสมบูรณ์
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุโขทัยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้ มีหลายประเภทดังนี้
1. ภูมิประเทศ สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำ
2. ทรัพยากรธรรมราช สุโขทัยมีพืชพรรณธรรมชาติต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆ
3. ความสามารถของผู้นำ กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัยทรงมีพระปรีชาสามารถในการคิดริเริ่ม และดัดแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของราษฎร เช่น สร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อเก็บกักน้ำ ที่เรียกว่า ทำนบพระร่วง ส่งน้ำไปตามคูคลองสู่คูเมือง เพื่อระยายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ประชาชนมีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ
พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน 3 อาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม หัตถกรรม และค้าขาย
1. เกษตรกรรม
สังคมสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม อาชีพหลักของประชาชน คือ การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกจะมีทั้งการทำนา ทำไร่ และทำสวน พืชที่ปลูกกันมาก เช่น ข้าว มะม่วง หมากพลู เป็นต้น บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน
เนื่องจากสภาพทางธรรมราชของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าวนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก เพราะมีน้ำน้อยในหน้าแล้ง และเมื่อถึงฤดูน้ำจะมีน้ำปริมาณมากไหลบ่ามาท่วมขังเป็นเวลานาน ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้น สุโขทัยจึงรู้จักการสร้างที่เก็บกักน้ำ แล้วค่อท่อน้ำจากคูเมืองไปสู่สระต่าง ๆ เพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่เกษตรกรรม ทำให้สามารถผลิตผลผลิตได้อุดมสมบูรณ์
2. หัตถกรรม
หัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการผลิต เครื่องสังคโลก หรือเครื่องปั้นดินเผา เครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่ผลิตได้ คือ จาน ชาม และถ้วยต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนิยมผลิตเครื่องสังคโลกในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อ เช่น แจกัน เหยือก โถน้ำ โอ่ง ไห เป็นต้น
จากหลักฐานการขุดพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลก หรือเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ทำให้สันนิษฐานได้ว่า แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง คือ กรุงสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย
และจากการพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลกขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากดินแดนต่าง ๆ ในสมัยนั้น
3. การค้าขาย
การค้าขายในสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี ทุกคนมีอิสระในการค้าขาย รัฐไม่จำกัดชนิดสินค้าและไม่เก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า จกอบ ผู้ใดอยากค้าขายอะไรก็ไม่มีการห้าม มีการค้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ตลอดจนการค้าขายแร่เงินและแร่ทอง
นอกจากจะมีการค้าขายภายในราชอาณาจักรแล้ว ยังมีการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับอาณาจักรต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย เช่น เมืองหงสาวดี ตะนาวศรี ล้านนา กัมพูชา มะละกา ชวา และจีน เป็นต้น สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องสังคโบก พริกไทย น้ำตาล งาช้าง หนังสัตว์ นอแรด เป็นต้น ส่วนสินค้าส่วนใหญ่เป็นพวกผ้าไหม ผ้าทอ อัญมณี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น