วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน 
   ที่ม
       กาพย์เห่เรือนี้สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของ
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชิน
ผู้แต่ง
       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
ประวัติผู้แต่ง
      พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อยังทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยในสำนักสมเด็จพระวนรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ด้านวิชาการรบ สำหรับขัตติยราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาจากประสบการณ์ที่เป็นจริง กล่าวคือได้ทรงตามเสด็จ พระบรมชนกนาถไปในราชการสงครามทุกครั้ง ซึ่งพระปรีชาสามารถและความจัดเจนนี้ย่อมเป็นที่ ประจักษ์ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นกรมพรราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชแทน
      
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒
       
พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงเริ่มทำเร่งด่วนครั้งแรกคือ การรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ครั้ง กรุงแตกให้อยู่ตั้งมั่นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศ โดยออกพระราชกำหนดสักเลข และ ทำทะเบียนราษฎรอย่างจริงจัง และได้ทรงผ่อนผันการเข้าเดือนเหลือเพียงปีละ ๓ เดือน คือ เข้าเดือนออก สามเดือน นอกจากนี้ยังได้ทรงออกกฎหมายฉบับสำคัญอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า พระราชกำหนดเรื่องห้าม สูบฝิ่น ขายฝิ่น
       
ในการทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองก็มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และได้มีการแต่ง สำเภาไปค้าขายยังเมืองต่างๆ และเมืองจีนมากขึ้น ทำให้การเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นมาก และเหตุที่มีการ แต่งเรือสำเภาไปค้าขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดการใช้ธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำสัญลักษณ์ช้างเผือกสำคัญที่ได้มาสู่พระบารมี ๓ เชือก ประทับลงบนธงสีแดง ธงประจำชาติไทยจึงมีขึ้นเป็นครั้งแรก
        
ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุง ตลอดจนทรงเป็นกษัตริย์ศิลปินโดยแท้จริง

ลักษณะคำประพันธ์
       แต่งเหมือนกาพย์เห่เรือ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ จำนวน 1 บท และกาพย์ยานี 11
ความมุ่งหมาย
       1. เพื่อเป็นบทเห่เรือพระที่นั่งเวลาเสด็จประพาสส่วนพระองค์
       2.เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการปรุงเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
เนื้อเรื่องย่อ
       กล่าวถึงอาหารคาวทั้ง 15 ชนิด คือ แกงมัสมั่นไก่, ยำใหญ่, ตับเหล็กลวก, หมูแนม, ก้อยกุ้ง, แกงเทโพ, น้ำยา, ข้าวหุงเครื่องเทศ, แกงคั่วส้ม, พล่าเนื้อ, ล่าเตียง หรุ่ม, ไตปลา, แสร้งว่า และอาหารหวานอีก1 ชนิดคือ รังนก    เมื่อกล่าวถึงอาหารชนิดใด กวีจะพรรณนาเชื่อมโยงไปถึงหญิงคนรัก














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น