วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า


โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    1
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
1.โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า
ท าไมจึงต้องศึกษาในเรื่องโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า ?
ส่วนประกอบหลักที่ส าคัญของหม้อแปล งไฟฟ้าจะมีอยู่ 3  ส่วน คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวน าและ
ฉนวน หม้อแปลงไฟฟ้าจะมีหลายประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะต่างๆ เช่น แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก
แบ่งตามลักษณะการใช้งาน หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องมือวัด
ผลลัพธ์
    1.  เมื่อนักเรียนได้ศึกษาโมดูลเรื่องโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้าแล้ว นักเรียนจะมีความรู้ ความ
เข้าใจในเรื่องส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้าและชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
     
วัตถุประสงค์
1.1 บอกส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้าได้ถูกต้อง
1.2 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งชนิดของแกนเหล็กได้ถูกต้อง
1.3 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ถูกต้อง
1.4 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามความถี่ที่ใช้งานได้ถูกต้อง
1.5 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามลักษณะการพันขดลวดได้ถูกต้อง
1.6 อธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้าได้ถูกต้องโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    2
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
บทน า
ส่วนประกอบหลักที่ส าคัญของหม้อแปล งไฟฟ้าจะมีอยู่ 3  ส่วน คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวน าและ
ฉนวน นอกจากนั้นจะเป็นส่วนประกอบย่อยจะขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ถ้าเป็นหม้อแปลงขนาดใหญ่ก็
จะมีส่วนประกอบย่อยมากขึ้น เช่น ถังบรรจุหม้อแปลงไฟฟ้า น้ ามันหม้อแปลงไฟฟ้า ฯลฯ  หม้อแปลงไฟฟ้า
จะมีหลายประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะต่างๆ เช่น แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก แบ่งตามลักษณะการใช้
งาน หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องมือวัด แบ่งตามความถี่การใช้งาน แบ่งตามลักษณะการพันและ
แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้า
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.1
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถบอกส่วนประกอบของหม้อแปลง
ไฟฟ้าได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.1 ส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กจะมีส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ประการ คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวน า และ
ฉนวน
-  แกนเหล็ก (Core)
หม้อแปลงทุกชนิดแกนเหล็กจะต้องท าด้วยแผ่นเหล็กบาง ๆ อัดเข้าด้วยกันเสมอเพื่อเป็น
วงจรแม่เหล็กและจะต้องเป็นเหล็กที่มีซิลิกอน (Silicon) สูง การที่แกนเหล็กท าด้วยแผ่นเหล็กบาง ๆ
ก็เพื่อลดกระแสไหลวน ( Eddy current)โดยแผ่นเหล็กบางๆแต่ละแผ่นที่อัดติดกันนั้น อาจจะ
คั่นกลางด้วยวานิชบางๆหรือคั่นด้วยชั้นของออกไซด์ที่ผิวหน้าของแต่ละแผ่น โดยเรียก แกนเหล็กนี้
ว่า แกนเหล็กลามิเนท ดังรูปที่ 1.1
แผ่นโลหะแต่ละแผ่นจะหนาตั้งแต่ 0.35 มม. ส าหรับระบบไฟฟ้าความถี่ 50 เฮิทซ์ และหนา
0.5 มม. ส าหรับ 25 เฮิทซ์ติดกัน
รูปที่ 1.1 ลักษณะแผ่นเหล็กบางที่เรียงซ้อนกันโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    3
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
- ขดลวดตัวน า (Coil or Winding)
โดยทั่วไปแล้วหม้อแปลงไฟฟ้าแบบธรรมดา หรือหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด ( Ordinary
Transformer)    นั้นจะประกอบด้วยขดลวด  2  ชุด ขดลวดด้านที่รับพลังงานเข้ามาหาตัวมัน เรียกว่า
ขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding)และขดลวดที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าออกไปยังโหลดเรียกว่า ขดลวด
ทุติยภูมิ (Secondary Winding) ซึ่งลวดตัวน าที่น ามาพันหม้อแปลงไฟฟ้านั้นจะเป็นลวดตัวน าหุ้ม
ฉนวน เช่นฉนวนอีนาเมล หรือชนิดที่เป็นเชือกหรือด้ายพันรอบๆเส้นลวด ซึ่งลวดชนิดนี้จะใช้
ส าหรับตัวน าเส้นโตส าหรับหม้อไฟฟ้าที่เป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ฉนวนที่หุ้มหรือเคลือบตัวน านั้น
อาจจะมีหลายชั้นทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นฉนวนที่ดี ทนต่อความร้อนสูง ทนต่อการกัดกร่อน ซึ่งจะ
ส่งท าให้มีอายุการใช้งานนาน
รูปที่ 1.2 ขดลวดที่พันบนฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้า
-  ฉนวน (Insulator)
 ฉนวนที่ใช้ในหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กนั้นจะประกอบด้วยฉนวนที่ใช้ส าหรับคั่นระหว่าง
แกนเหล็กกับขดลวดขงหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งอาจจะเป็นกระดาษแข็งแบบธรรมดา กระดาษไฟเบอร์
หรือฉนวนอย่างอื่น เช่น ฉนวนเบกาไรด์ ( Bekarite) ซึ่งจะมีความแข็งแรงทนทาน ทนความร้อนได้
สูง และเป็นไฟฟ้าฉนวนไฟฟ้าได้อย่างดี นอกจากนั้นก็เป็นแผ่นฉนวนที่ขั้นระหว่างขั้นของขดลวด
ซึงอาจจะใช้กระดาษลอกลายมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆคั่นระหว่างชั้นของขดลวด เพื่อกั้นไม่ให้
ขดลวดแต่ละชั้นสัมผัสกัน
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.2
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งชนิด
ของแกนเหล็กได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.2 ชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามชนิดของแกนเหล็ก
เราสามารถจ าแนกประเภทของแกนเหล็กออกเป็น 3  ชนิด คือโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    4
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
- แกนเหล็กแบบคอร์ (Core type) จะมีลักษณะเป็นรูปตัว  L – L หรือ U – I ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่ง
เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะมีลักษณะเป็นวงจรแม่เหล็กวงจรเดียวหรือวงจรเดี่ยว หรือวงจรแบบอนุกรม
ขดลวดด้านปฐมภูมิและด้านทุติยภูมิจะถูกพันอยู่บนแกนทั้งสองด้านแยกกันอยู่คนละข้าง แกนเหล็กแบบ
คอร์จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
รูปที่ 1.3 ลักษณะต่างๆของแกนเหล็กแบบคอร์
 ก. แกนเหล็กแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นจะมีขนาดเท่ากัน เมื่อประกอบเข้าด้วยกันจะมี
ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งจะนิยมใช้หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กก าลังไม่สูงมาก
ข้อเสีย คือ จะท าให้เส้นแรงแม่เหล็กรั่วไหล ( Leakage Flux) มาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการท างานของหม้อแปลง
ไฟฟ้า แต่อาจสามารถแก้ไขได้โดยการพันขดลวดปฐมภูมิ และขดลวดทุติยภูมิอย่างละครึ่งแยกกันคนละข้าง
ข้อดี คือ สามารถสร้างหม้อแปลงไฟฟ้าให้มีขนาดแรงดันไฟฟ้าสูงๆได้ เพราะมีช่องหน้าต่างว่างในการพัน
ขดลวดไว้จ านวนมากรอบ
รูปที่ 1.4 (ก)แกนเหล็กและขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบคอร์
(ข) ภาพหน้าตัดเมื่อมองด้านข้างและด้านบน
รูปที่ 1.5 การพันขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละครึ่งบนแกนเหล็กข้างเดียวกันโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    5
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
 ข. แกนเหล็กแบบครูซิฟอร์ม ( Cruciform Type)ขนาดของแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นจะมีขนาดต่างกัน
เมื่อประกอบแกนเหล็กเข้าด้วยกัน แล้วพื้นที่หน้าตัดที่พันขดลวดจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส
แต่จะมีลักษณะเป็นขั้นๆซึ่งจะสามารถพันขดลวดที่มีลักษณะเป็นแบบทรงกระบอกสวมลงไปได้ โดยมี
ช่องว่างระหว่างแกนเหล็กกับขดลวดน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้สามารถลดการสูญเสียและเพิ่มความแข็งแรง
ให้กับขดลวด แกนเหล็กชนิดนี้จะนิยมใช้กับหม้อแปลงที่มีขนาดก าลังไฟฟ้าสูงๆ
รูปที่ 1.6 แกนเหล็กแบบคอร์ชนิดครูซิฟอร์ม
- แกนเหล็กแบบเชลล์ (Shell Type) จะมีลักษณะแกนเป็นรูปตัว  E-I และ M แกนเหล็กชนิดนี้เมื่อ
ประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีวงจรแม่เหล็กแบบขนาน ขดลวดปฐมภูมิและขดลวด
ทุติยภูมิจะพันอยู่บนแกนกลางของแกนเหล็กและพันทับกันอยู่ โดยให้ขดลวดที่มีพิกัดแรงดันต่ าพันอยู่ด้าน
ในชิดแกนเหล็กและพันขดลวดด้านแรงสูงทับลงไปโดยมีฉนวนคั่นอยู่ แกนเหล็กแบบเชลล์จะแบ่งออกเป็น
2 ลักษณะ คือ
รูปที่ 1.7 ลักษณะต่างๆของแกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบเชลล์
ก. แกนแบบเดี่ยว จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เป็นรูปตัวอี-ไอ (E-I) หรือตัวเอ็ม (M) เมื่อประกอบ
เข้าด้วยกัน
ข. แกนเหล็กแบบกระจาย จะมีลักษณะเป็นวงจรแม่เหล็กกระจายล้อมรอบขดลวด ซึ่งพันอยู่บน
แกนกลาง โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    6
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
รูปที่1.8 แกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบเชลล์ชนิดแกนเดี่ยว
รูปที่ 1.9 แกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเชลล์แบบกระจาย
- แกนเหล็กแบบทอร์รอย (Toroid Type)จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆจานกลม เมื่อประกอบเข้า
ด้วยกันแล้วจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ขดลวดจะถูกพันรอบแกนเหล็กหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะมีค่าการ
สูญเสียต่ าและมีประสิทธิภาพสูงใช้แกนเหล็กน้อยเมื่อก าลังไฟฟ้าเท่ากัน
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.3
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
ลักษณะการใช้งานได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.3 ชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
- หม้อแปลงไฟฟ้าก าลัง (Power Transformer)
จะใช้ส าหรับการจ่ายก าลังไฟฟ้าและระบบสายส่ง ( Transformer Line) หม้อแปลงไฟฟ้า
ชนิดนี้จะมีคาก าลังไฟฟ้าในการใช้งานสูงที่สุด และแรงดันไฟฟ้าใช้งานนอย่างต่อเนื่อง ก็จะมีค่าสูงโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    7
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
ที่สุดด้วย การก าหนดพิกัดของหม้อแปลงไฟฟ้าจะเหมือนกับเครื่องจักรไฟสลับ คือจะก าหนดเป็น
โวลต์-แอมแปร์ (V-A)
- หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transformer)
จะมีหลายชนิดแต่งต่างกันอีกทั้งก็ใช้งานต่างกันด้วย บางครั้งจะพิจารณาหม้อแปลงไฟฟ้า
ชนิดนี้ว่าจะต้องมีขนาดไม่เกิน 100 V-A ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และมี
ค่าก าลังสูงๆ ก็จะเรียกว่าหม้อแปลงไฟฟ้าก าลัง (Electronic Power Transformer)
- หม้อแปลงไฟฟ้าเครื่องมือวัด (Instrument Transformer)
 หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะใช้ส าหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้าทั้งใน
วงจรไฟฟ้าก าลังและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ก าลัง เรียกว่า  หม้อแปลงไฟฟ้าความต่างศักย์ ( Potential
Transformer)และหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสไฟฟ้า (Current Transformer)  
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.4
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
ความถี่การใช้งานได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.4 หม้อแปลงที่แบ่งตามแบ่งตามความถี่การใช้งาน
- หม้อแปลงไฟฟ้าก าลัง
จะใช้ในงานที่มีความถี่คงที่ตามความถี่ของระบบไฟฟ้าก าลัง เช่นความถี่ 50 เฮิรตซ์ 60
เฮิรตซ์ หรือ 400 เฮิรตซ์ กับความถี่อื่นๆ
- หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับย่านความถี่เสียง
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ส าหรับงานสื่อสารที่มีย่านความถี่เสียง
- หม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูง
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ส าหรับย่านความถี่สูงมาก
-หม้อแปลงไฟฟ้าย่านความถี่กว้าง
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท างานในย่านความถี่กว้าง
- หม้อแปลงไฟฟ้าย่านความถี่ช่วงแคบ
เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ออกแบบใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท างานในย่านความถี่
เฉพาะ
-หม้อแปลงไฟฟ้าสัญญาณพัลซ์โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    8
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
เป็นหม้อแปลงที่ออกแบบให้ใช้งานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ท างานในด้านไฟฟ้าก าลัง
หรืออิเล็กทรอนิกส์ก าลัง
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.5
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
การพันขดลวดได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.5 หม้อแปลงที่แบ่งตามการพันขดลวด
- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด (Ordinary Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแยกขด หมายถึงหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติย
ภูมิแยกออดจากกันโดยเด็ดขาด ไม่ต่อถึงกันทางไฟฟ้า ขดลวดทุติยภูมิอาจจะมีมากกว่า  1 ขด หรือ
หลายขด
รูปที่ 1.10 สัญลักษณ์ของหม้อแปลงแบบแยกขด
- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
หม้อแปลงไฟฟ้าอัตโนมัติ หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดเพียงชุดเดียว ขดลวดปฐม
ภูมิและขดลวดทุติยภูมิจะเป็นขดลวดชุดเดียวกัน มีทั้งชนิดแปลงขึ้น ( Step – up Transformer)และ
ชนิดแปลงลง (Step – down Transformer)
รูปที่ 1.11 สัญลักษณ์ของหม้อแปลงแบบอัตโนมัติโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    9
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1.6
เมื่อนักเรียนศึกษาวัตถุประสงค์ข้อนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถอธิบายชนิดของหม้อแปลงที่แบ่งตาม
ชนิดของระบบไฟฟ้าได้ถูกต้อง
เนื้อหา
1.6 หม้อแปลงที่แบ่งตามชนิดของระบบไฟฟ้า
- หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว (Single Phase Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ดังนั้นจึง
ประกอบด้วยขดลวดด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละหนึ่งชุด
รูปที่ 1.12 ลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบเฟสเดียว
- หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส (Three Phase Transformer)
หม้อแปลงไฟฟ้า  3  เฟส หมายถึง หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ระบบไฟฟ้า  3  เฟส ดังนั้น จึงมี
ขดลวดด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิอย่างละ 3 ชุด พันอยู่บนแกนเหล็ก ขดลวด(Step – up Transformer)
ด้านปฐมภูมิหรือทุติยภูมิอาจต่อเข้าด้วยกันเป็นแบบวายหรือสตาร์หรืออาจจะต่อเข้าด้วยกันเป็น
เดลต้า ตามแต่กรณี
รูปที่ 1.13 แกนเล็กของหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส เบื้องต้นโครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                                    10
               วิทยาลัยแลมป์-เทค                                                                                                  หม้อแปลงไฟฟ้า                                                                                                      
หม้อแปลงไฟฟ้า 3  เฟสก็เหมือนกับหม้อแปลงเฟสเดียว คือมีทั้งแบบคอร์และแบบเชลล์
ลักษณะของแกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบง่ายๆ แกนเหล็กทั้ง  3 ขาท ามุมกัน 120 องศาส่วน
แกนกลางจะเป็นแกนต่อร่วมกัน เพื่อให้เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าแต่ละเฟส
เคลื่อนที่ครบวงจร  ถ้าขดลวดต่อกันแบบสตาร์ ชั่วขณะหนึ่งกระแส  I
1
+ I
2
+ I
3
= 0 ส้นแรงแม่เหล็ก
ก็จะมีค่าเป็นศูนย์ด้วย ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีขาของแกนเหล็กมาต่อร่วมกัน ดังรูป 1.14
รูปที่ 1.14 หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส
เมื่อแกนกลางออกแล้วการเกิดเส้นแรงแม่เหล็กจากขดลวดบนแกเหล็กเฟส หนึ่ง เมื่อ
เคลื่อนที่ไปแล้วจะอาศัยแกนอีกสองแกนให้มีลักษณะ ดังรูป 1.14 (ก)จะเป็นหม้อแปลงสามเฟสใน
แบบคอร์ ขดลวดจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลม ส่วนในรูปที่ 1.14 (ข)จะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า  3
เฟส แบบเชลล์
หม้อแปลงไฟฟ้า 3  เฟส แบบเชลล์ออาจจะน าหม้อแปลงไฟฟ้า  1  เฟสแบบคอร์ 3  ตัวมา
ประกอบเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า  3  เฟสแบบเชลล์ ก็ได้ และ
ระหว่างเฟสที่ 2 และ 3  วงจรแม่เหล้กของหม้อแปลงไฟฟ้า
แบบนี้จะเกิดอสระมากกว่าแบบคอร์
หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด  3  เฟส ถ้าเฟสใดของหม้อ
แปลงไฟฟ้าใช้ไม่ได้จะต้องยกหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งตัวลงเพื่อ
น าไปซ่อม แต่ถ้าน าเอาหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส  3 ตัวมาต่อ
กันเป็นหม้อแปลง 3  เฟส ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่ง
ช ารุดเสียหาย หม้อแปลงไฟฟ้าอีกสองตัวที่เหลือยังท างาน
แบบเดลต้าเปิด ( open delta)ได้ เพียงแต่ไม่สามารถจ่าย
พลังงานได้สูงเหมือนตอนแรกเท่านั้น และสามารถยกหม้อ
แปลงตัวที่ช ารุด ลงไปซ่อมเพียงตัวเดียว แล้วน าเอาตัวที่ใช้
งานได้ขึ้นไปติดตั้งแทน
รูปที่ 1.15 วงจรแม่เหล็กหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส

1 ความคิดเห็น: